วัดเสาหิน


ประวัติความเป็นมา
ตั้งอยู่ในเขตชุมชนทางด้านทิศของเมืองกุมกาม ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระยะทางเฉลี่ย 5 กิโลเมตร บริเวณวัดตั้งอยู่บนเนินที่มีพื้นที่ราบลุ่มทางด้านทิศเหนือ และสองข้างด้านตะวันตก และตะวันออก ที่เดิมเคยเป็นที่ลุ่มต่ำทำนา ปัจจุบันมีบ้านจัดสรรญอยู่ล้อม ยกเว้นแนวทางด้านทิศใต้ ด้านหลังวัดห่างออกไปที่เป็นบริเวณที่สูง และเป็นแนวตะลิ่ง ของสายน้ำแม่ปิง แต่เดิมที่ใหลผ่านทางด้านทิศเหนือของเวียงกุมกาม วัดเสาหินสร้างหันหน้าไปทางทิศเหนือค่อนมาทางทิศตะวันออกเล็กน้อย สร้างร่วมสมัยเวียงกุมกาม ระหว่างปี พ.ศ. 1827-2101 ถาวรวัตถุประกอบด้วย วิหาร เจดีย์ประธาน พระอุโบสถ กำแพง พระวิหารหลังใหม่ อาคารศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ และวิหารเสาหินจำลอง ที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง

ลักษณะความสำคัญ/จุดเด่น
วิหารวัดเสาหิน ยกพื้นสวนฐานสูงเป็นการป้องกันน้ำท่วมถึง ตัวบันไดเป็นรูปนกหัสดีลิงค์มีหงอนคล้ายนาค ซึ่งเป็นสัตว์ในนิยาย หรือชาดกในพระพุทธศาสนาที่ใช้เป็นพาหนะขึ้นสุ่สรวงสวรรค์ หรือแดนพุทธภูมิตามความเชื่อ บันไดแบบนี้ก็ไม่นิยมนำมาก่อสร้างเป็นบันไดในอาคารทางพระพุทธศาสนา
นอกจากนี้ด้านโครงสร้างส่วนฐานก่ออิฐสอปูน ย่อส่วนลักษณะส่วนสะเปาคำ (สำเภา) คือส่วนกลางใหญ่ ส่วนหัวและท้ายเล็กดูคล้ายเรือสำเภอ ส่วนเสาและโครงสร้างหลังคาทำด้วยไม้เนื้อแข็งทั้งหลัง มุงด้วยกระเบื้องดินขอ ป้านลมทำด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปพยานาคติดกระจกสี ช่อฟ้าไม้ติดกระจก (ของเดิมยังเก็บรักษาไว้เป็นที่ศึกษาของคนรุ่นหลัง) โครงสร้างหน้าแหนบหรือหน้าจั่วแบบม้าตั่งไหม ตกแต่งลายไม้ปิดทองประดับกระจกเป็นรูปดอกประจำยาม ภายในวิหารในส่วนของซุซี (ฐานพระ) มีลักษณะเด่นที่สร้างเป็นสี่ชั้น แต่ละชั้นความกว้างความสูงก็ลดลั่นกันไป ประดับกระจกและปิดทองรูปดอกกลม ประจำยามกระจังแทรกด้วยลายก้ามปูก้านขดอย่างงดงาม ส่วนพระพุทธรูปที่ประดิษฐานที่มีอยู่จำนวน 11 องค์ ทั้งที่เป็นพระสำริด และพระศิลา แต่ได้ถูกขโมยไปหมด ทางวัดจึงได้สร้างพระพุทธรูปปั้นที่มีพุทธลักษณะเหมือนองค์เดิมมาประดิษฐานแทน ในส่วนของฐานซุกชี้นี้ ตามความเชื่อถือของศรัทธาและตามคำบอกเล่าของคนโบราณที่เล่าสืบกันมาว่ามีเสาหินอยู่ใต้ฐาน

ที่มา https://culture.mome.co/watsawhint/

กิจกรรมในเชียงใหม่