วัดพระเจ้าองค์ดำ
- ถนนเวียงกุมกาม ตำบลหนองหอย อำเภอเมืองเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50000
- 053-140-322
-
- เปิดทุกวัน 08:00-18:00
- https://www.facebook.com/WiangkumkamInformationCen...
- #เวียงกุมกาม #โบราณสถาน #นครโบราณใต้พิภพ
-
ตำแหน่งจีพีเอส : 18.7520872, 98.9976990 (เปิดแผนที่บน Google Map) | เปิดพิกัดปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมา
ชื่อ "พระเจ้าองค์ดำ"
มาจากคำเรียกพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่ขุดพบ
ลักษณะเป็นพระพุทธรูปสำริดมีสีดำจากการถูกไฟไหม้
ในภาษาเหนือเรียกพระพุทธรูปว่า "พระเจ้า"
ชาวบ้านจึงเรียกชื่อวัดนี้ว่าวัดพระเจ้าองค์ดำ สำหรับชื่อ "พญามังราย" นั้น
ชาวบ้านเรียกตามพระนามของพญามังรายผู้ทรงสร้างเวียงกุมกาม
กรมศิลปากรเข้าดำเนินงานขุดแต่งและบูรณะเมื่อปื
พ.ศ. 2532 - 2533 โบราณสถานแบ่งออกเป็น 2 กสุ่ม
คือกลุ่มพระเจ้าองค์ดำและกสุ่มพญามังราย
ลักษณะความสำคัญ/จุดเด่น
โบราณสถานกถุ่มพระเจ้าองค์ดำ
ประกอบด้วย วิหาร เจดีย์ และกถุ่มอาคารรูปสี่เหลี่ยม
วิหารมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
ที่ห้วบันไดด้านหน้าประดับปูนปั้นรูปตัวเหงา เจดีย์ตั้งอยู่หลังวิหาร
เป็นเจดีย์ฐานสี่เหลี่ยมยกเก็จตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่ยม
ห่างออกไปทางทิศใต้ประมาณ 5 เมตร มีฐานอาคารรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าอีก 3 หล้ง
โดยมีทางดินเชื่อมต่อถึงกันได้
โบราณสถานกถุ่มพญามังราย
ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของโบราณสถานกลุ่มพระเจ้าองค์ดำประกอบด้วล
ซุ้มประตูโขง กำแพงแก้ว วิหาร เจดีย์ และอุโบสถ
วิหารห้นหน้าไปทางทิศตะวันออกเจดีย์ตั้งอยู่หลังวิหาร
ถักษณะเป็นฐานทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสยกเก็จรองรับเรือนธาตุที่มีซุ้มพระ 4
ด้าน
ห่างออกไปประมาณ 100 เมตร ทางด้านหน้าของโบราณสถานทั้งสองกลุ่มนี้
เป็นลำน้ำสาขาแม่น้ำปิง (ปิงห่าง) มีคันดินกั้นน้ำและศาลาริมน้ำตั้งอยู่ 1
หลัง จากจำนวนโบราณสถานและถักษณะของเจดีย์ วิหาร
ทำให้เชื่อว่าเป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญอีกแห่งหนึ่งของเวียงกุมกาม
น่าจะมีส่วนประกอบของสถาปัตยกรรมและอาคารอย่างอื่นอีกในบริเวณ
แต่อาจถูกทำลายไปแล้วหรือยังฝังอยู่ใต้ดิน อย่างไรก็ตาม
วัดนี้นีการก่อสร้างเพี่มเติม
สามารถกำหนดอายุได้ว่าอยู่ประมาณพุทธศตวรรษที่ 20-22
ที่มา culture.mome.co