สัญลักษณ์ รูปปั้นวัวลาย [ถนนวัวลาย]

ประวัติ บ้านวัวลาย และสัญลักษณ์รูปปั้นวัวลาย

หมู่บ้านวัวลายในปัจจุบันนี้เดิมเป็นหมู่บ้านแห่งหนึ่งซึ่งอยู่แขวงเมืองปั่นแถบลุ่มแม่น้ำสาละวิน (แม่น้ำคง)อยู่ฝั่งตะวันออก เป็นรัฐที่ตั้งของไทยใหญ่ ซึ่งมีเขตแดนทางทิศใต้และทิศตะวันออกอยู่ติดกับเขต อําเภอเชียงดาวและอําเภอฝาง จ.เชียงใหม่ ทิศเหนือติดกับเขตรัฐเชียงตุง (ปัจจุบันคือที่มั่นเขตไทยใหญ่ ที่ถูกทหารพม่าขับไล่แตกกระจายเผาบ้านเรือนที่มั่นเดิมเลียหายวอดวายชาวไทยใหญ่จึงแตกกระจายหนีไป อยู่คนละทิศคนละทางส่วนมากอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนไทย)

ความเป็นมาของหมู่บ้านวัวสาย ที่อพยพ มาอยู่ที่เชียงใหม่นี้มีปรากฏอยู่ในพงศาวดารโยนกและตํานานราชวงค์ ปกรณ์ เชียงใหม่ ในสมัย พระเจ้ากาวิละ (พ.ศ. 2323-2356) ใช้นโยบายเรียกว่า "เก็บผักใส่ซ้า เก็บข้าใส่เมือง"พระองค์ได้ส่งกองทัพ ออกไปตีเมืองต่างๆ ในรัฐไทยใหญ่ ไทยลื้อ (สิบสองปันนา) เมื่อตีได้แล้วก็กวาดต้อนเอาผู้คนมาไว้ที่เมือง เชียงใหม่เพื่อเป็นการเพิ่มกําลังของเมืองเชียงใหม่มากขึ้น บรรดาหัวเมืองต่างๆ ที่ถูกกวาดต้อนมาเอาผู้คน
มาไว้ที่เมืองเชียงใหม่ เช่น เมืองเลน, เมืองวะ เมืองขอน เมืองพยาก เมืองโก ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.สันทราย เมืองลวง อ.ดอยสะเก็ด เมืองหลวย เมืองออน อยู่ที่สันกําแพง เชียงแสน เชียงขาง อยู่ที่ อ.สารภี เมืองสาตร์ เมืองกาย เมืองมาง เมืองลัง บ้านเขิน บ้านงัวลาย บ้านสะต๋อย อยู่ในเขตอําเภอเมือง พวกที่ถูกกวาดต้อนมา ส่วนมากจะเป็นพวกช่างที่มีฝีมือต่าง ๆ หลากหลายกันออกไปเป็น ช่างเคี่ยนไม้ ช่างกระดาษ ช่างฆ้อง ช่างแต้ม (วาด) ช่างเขิน ช่างเงิน เป็นต้น ช่างเหล่านี้ถูกนํามาไว้ในตัวเมือง เพื่อทําความเจริญให้แก่บ้านเมือง

บ้านวัวลายนั้นเป็นช่างทําเครื่องเงินก็ให้มาอยู่ ณ ที่บริเวณกําแพงเมือง ชั้นนอก จึงได้ตั้งชื่อตามที่อยู่เดิม คือ บ้านวัวลาย ซึ่งมีอาชีพการทําเครื่อง เงินเป็นหลัก

ในปี พ.ศ. วันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2534 พระครูสุทธิจิตตาภิรัต เจ้าอาวาสวัดหมื่นสาร พร้อม ด้วยคณะศรัทธา ได้มอบหมายให้นายสุรศักดิ์ กันทวงค์ (สล่าศักดิ์) ได้ช่วยกันทําการปั้นรูปวัวลายตัวนี้ขึ้นมาไว้เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน

เพราะว่าตามตํานานแต่เดิมบ้านวัวลายที่เมืองปั่นนั้น มีสภาพอยู่ลุ่มสันเขา มีลำห้วยไหลลงมาสู่แม่น้ำคงบรรยาสูงป่าใหญ่นั้นก็มีถ้ใหญ่ ในถ้ำนั้นมีววิเศษ มีเขาเป็นแก้ว ตัวลายดำ(ทอง) ในวันดีคืนดีวัวลายตัวนี้ก็จะออกถ้ำมาหาอาหารกินก็จะถ่ายมูลออกมาเป็น แร่ เงิน คํา ไว้ตามลําห้วย "เมื่อชาวบ้านที่อาศัยอยู่ ได้ไปพบระจึงช่วยกันไปร่อนเอามานํามาทําเป็นเครื่องใช้อื่นๆ เช่น สลุง ขัน  ขันเซียนหมาก ที่เป็นเครื่องประดับแต่งกาย บ้านไหนหาได้มากก็ตกแต่งให้คนในครอบครัวเป็นที่เชิดหน้าชูตา ในกลุ่มชาวหมู่บ้านเดียวกัน และใกล้เคียงต่อมาก็เริ่มขยายออกไปยังเมืองใกล้เคียงต่างๆ จึงเป็นที่กําเนิดชุมชนช่างขึ้น ณ ที่บ้านงัวลายแห่งนี้ ซึ่งจะมีช่างฝีมือดี ๆ มาก

เพราะฉะนั้นเมื่อถูกกวาดต้อนมาไว้ในเมืองเชียงใหม่ก็ได้ตั้งชื่อว่า "บ้านวัวลาย" ตามชื่อเดิมเมื่อมาอยู่บ้านงัวลายก็ได้เจริญรุ่งเรืองมากในอดีต บ้านงัวสายได้เป็นชุมชนช่างขนาดใหญ่เกือบทั้งหมดของประชากรในหมู่บ้านจะทําเครื่องเงินทุกหลังคาเรือน จนส่งลวงหลานเรียนหนังสือ บรรดาลูกหลานก็ไปรับราชการ ทํางานบริษัท ก็เลยขาดช่างผู้สืบทอดผู้ที่สูงอายุ ก็เลิกทําไป ปัจจุบันก็เลยเหลือลดลงตามวิถีชีวิต เหลือประมาณไม่ถึง 50 ครัวเรือนที่ยังอยู่และละเปลี่ยนรูปแบบจากการทําเครื่องเงินไปเป็นใช้วัสดุอื่นๆ มาทดแทนเงิน เช่น ทองเหลือง ทองแดง ดีบุก สแตนเลส สังกะสี อลูมิเนียม เพราะราคาจะถูกลงกว่าเครื่องเงินแต่ฝีมือก็ยังปรากฏอยู่เหมือนเดิม ดังนั้นชาวบ้านวัวลายทั้งหลายที่อยู่บ้านวัวลายก็ได้อยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมาจึงได้คิด สร้างรูปปั้น สัญลักษณ์รูปงัวลาย ไว้เป็นอนุสรณ์เพื่อน้อมรําลึกถึงบรรพบุรุษ ครูบาอาจารย์ ช่างสล่า แต่ดั้งเดิมไว้ให้ ลูกหลานได้รู้สํานึกบุญคุณของบรรพบุรุษแต่กาลก่อนมาที่ได้นัดพวกเรามาอยู่ไว้ ณ ที่นี้ จนเจริญรุ่งเรืองสืบมา


อ้างอิง ป้ายประชาสัมพันธ์หน้ารูปปั้นวัวลาย 

เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่