ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ แม่เหียะ ถนนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตำบลสุเทพ อำเภอ เมือง เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50200
- 053-944-911
-
- จันทร์-ศุกร์ 08:00-16:30
- https://lanna-rice.cmu.ac.th/...
- #ข้าวล้านนา #ศูนย์วิจัย
-
ตำแหน่งจีพีเอส : 18.7585527, 98.9299334 (เปิดแผนที่บน Google Map) | เปิดพิกัดปัจจุบัน
-
ข้อมูลเพิ่มเติม
- TEL. : 053-944911
- FAX : 053-944912
- WWW : lanna-rice.cmu.ac.th
- FACEBOOK : ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นตามมติของสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานวิชาการภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2555 มีพันธกิจหลักเพื่อให้ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นศูนย์กลางในการวิจัย พัฒนาและการบริการวิชาการโดยเฉพาะด้านข้าวพื้นเมืองในภาคเหนือ ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานวิชาการทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยการจัดตั้งศูนย์ฯ ได้แล้วเสร็จและเริ่มดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2557 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
ด้านการวิจัย เป็นการทำการวิจัยด้านการอนุรักษ์พันธุกรรมข้าว การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าว การแปรรูปผลิตภัณฑ์ข้าวเพื่อการเพิ่มมูลค่าและการใช้ประโยชน์ในรูปแบบต่างๆ โดยทุนวิจัยที่ได้ในการดำเนินงานเป็นการขอรับการสนับสนุนจากแหล่งทุนภายในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และแหล่งทุนภายนอกมหาวิทยาลัย ดำเนินการในลักษณะของการบูรณาการระหว่างสาขาวิชาต่าง ๆ จากนักวิจัยในเครือข่ายของศูนย์ฯ ร่วมมือกันสร้างงานวิจัยด้านข้าวที่เกิดประโยชน์ต่อสังคม ชุมชนและรวมถึงผลกระทบโดยรวมในประเทศไทย
ด้านการบริการวิชาการ เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีการผลิตข้าว การจัดการหลังการเกี่ยวเกี่ยว และการถ่ายทอดองค์ความรู้อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตข้าวที่มีคุณภาพ รวมถึงการให้คำปรึกษาปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการผลิตข้าวให้แก่เกษตรกร
นอกจากนี้ศูนย์วิจัยข้าวล้านนายังมีความพร้อมในเรื่องแปลงนาสาธิตเพื่อปลูกข้าวพันธุ์ต่างๆ เพื่อการอนุรักษ์และขยายพันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพ การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพ และส่งต่อให้นักวิจัยนำไปต่อยอดทำวิจัยในด้านต่างๆ ทั้งในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ข้าว หรือการสกัดสารด้านชีวเคมี หรือด้านเภสัชวิทยา รวมถึงการศึกษาดูงานพร้อมทั้งมีการสนับสนุน ส่งเสริมให้ชุมชนเกษตรกรรมมีการพึ่งพาตนเอง โดยการเป็นต้นแบบของโรงสีข้าวชุมชน ซึ่งให้เกษตรกรหรือประชาชนที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานระบบการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวและรวมถึงการใช้บริการกับทางศูนย์ฯ
ที่มา ศูนย์วิจัยข้าวล้านนา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (cmu.ac.th)