แจ่งทิพเนตร กำแพงเมือง(เก่า)

แจ่งทิพเนตร แจ่งที่ถูกลืม

หากเดินเลาะเรียบตามสวนสาธารณะกาญจนาภิเษกติดกับโรงพยาบาลสวนปรุง ก็จะพบกับแนวกำแพงดินรูปพระจันทร์เสี้ยวตั้งทิ้งร้างอยู่ แนวกำแพงดินแห่งนี้ชาวบ้านเรียกขานว่า" ป้อมหายยา" หรือ "แจ่งทิพเนตร"  และเมื่อเดินต่อจนถึงสุดแนวคันดินก็พบกับ " แนวกำแพงทิพเนตร " 

 ป้อมหายยาและแนวกำแพงทิพเนตร เริ่มสร้างในรัชสมัยพญามังราย เพื่อป้องกันกองทัพจากกรุงศรีอยุธยาที่ยกทัพมาคุกคามเชียงใหม่หลายครั้ง แนวกำแพงดินแห่งนี้เป็นกำแพงดินชั้นนอก ลักษณะรูปพระจันทร์เสี้ยวโอบล้อมกำแพงเมืองด้านใน ขนานไปกับลำน้ำแม่ข่าไหลไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ใกล้กับแจ่งกู่เฮือง 

ปัจจุบันป้อมแจ่งทิพเนตร เสื่อมสภาพและพังทลายลงเหลือเพียงบางส่วน และถูกปรับให้มีขนาดเล็กลงสูงเพียง 11 เมตร รวมทั้งแนวดินส่วนที่เหลือเพียง 8 เมตร ขณะเดียวกันได้มีการเปลี่ยนเปลงทิศทาง คลองแม่ข่าไหลผ่านคูเมืองลงไปทางทิศใต้บรรจบกับแม่น้ำปิง จึงทำให้เหลือสภาพเดิมให้เห็นน้อยมาก  ประกอบถูกอาคารสร้างทับไว้ จนแทบไม่เหลือสภาพของแจ่งทิพเนตร แจ่งเมืองที่คอยปกป้องไม่ให้ข้าศึกศัตรูให้กับคนเชียงใหม่แต่ในครั้งอดีต

ที่มา เชียงใหม่นิวส์ Chiang Mai News ข่าวเชียงใหม่ – Posts | Facebook

กิจกรรมในเชียงใหม่