สำนักงานแขวงศรีวิชัย

ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ฐานภาษี มูลค่าราคาประเมินทุนทรัพย์ของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

ผู้เสียภาษี

  • เจ้าของที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  • เจ้าของห้องชุด
  • ผู้ครอบครองทรัพย์สิน หรือ ทำประโยชน์ในทรัพย์สินของรัฐ(ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง)
การทำประโยชน์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง

เกษตรกรรม
ทำนา ทำสวน ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ เลี้ยงสัตว์น้ำ และกิจการอื่นตามประเภทที่กำหนด

ที่อยู่อาศัย
ที่ดินหรือสิ่งปลูกสร้างที่เจ้าของใช้อยู่อาศัยแบ่งเป็น
- บ้านหลังหลัก เจ้าของบ้านและที่ดิน/เจ้าของเฉพาะตัวบ้านที่มีชื่อในเอกสารกรรมสิทธิ์ทะเบียนบ้าน
-
บ้านหลังอื่นๆ เจ้าของบ้านมีชื่อในโฉนดแต่ไม่มีชื่อในทะเบียนบ้าน

อื่นๆ
พาณิชยกรรม, อพาร์ทเมนต์,อุตสาหกรรม,บ้านให้เช่า,โรงแรม ที่ว่างไม่ทำประโยชน์ตามควรแต่สภาพ

อัตราภาษี

ที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง (2563-2564)
(เพดาน 0.15%)บุคคลธรรมดาได้รับยกเว้น อปท.ละไม่เกิน 50 ล้านบาท

อัตราจัดเก็บ:มูลค่า (ล้านบาท)
อัตรา (%)
0-75 0.01
75-100
0.03
100-500
0.05
500-1,000
0.07
1,000 ขึ้นไป
0.1

ที่อยู่อาศัย อัตราจัดเก็บ (เพดาน 0.3%)

อัตราจัดเก็บ:มูลค่า (ล้านบาท)บ้านหลังหลัก (%) บ้าน+ที่ดิน (%)บ้านหลังอื่นๆ (%)
0-10ยกเว้นภาษี
ยกเว้นภาษี0.02
10-50
0.02
ยกเว้นภาษี0.02
50-75
0.03
0.03
0.03
75-100
0.05
0.05
0.05
100 ขึ้นไป
0.1
0.1
0.1


อื่นๆ / ที่รกร้างว่างเปล่า (เพดาน 1.2%)

อัตราจัดเก็บ:มูลค่า (ล้านบาท) อัตรา (%)
0-50 0.3
50-200
0.4
200-1,000
0.5
1,000-5,000
0.6
5,000 ขึ้นไป
0.7

*สำหรับที่ว่างเปล่า/ไม่ทำประโยชน์ตามควรสภาพ เพิ่มอัตรา 0.3% ทุก 3 ปีแต่อัตราภาษีไม่เกิน 3%

การดูแลผลกระทบ
บ้านหลังหลัก

  • ส่วนของมูลค่าที่ไม่เกิน 50 ล้านบาท ในกรณีที่เป็นเจ้าของบ้านและที่ดิน
  • ส่วนของมูลค่าที่ไม่เกิน 10 ล้านบาท ในกรณีที่เป็นเจ้าของเฉพาะบ้าน
  • ที่ดินเกษตรกรรมของบุคคลธรรมดา
  • ไม่ต้องเสียภาษี 3 ปีแรก
  • ปีที่ 4 เป็นต้นไปได้รับยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีในแต่ละ อปท. รวมกันไม่เกิน 50 ลบ.เป็นการถาวร

ยกเว้น

  • ทรัพย์สินส่วนของรัฐที่ไม่ได้หาผลประโยชน์
  • สหประชาชาติ สถานทูต
  • ทรัพย์ส่วนกลางของอาคารชุด ที่ดินสาธารณูปโภคหมู่บ้านจัดสรร

ลดหย่อน

  • กิจการสาธารณะ เช่นโรงเรียน โรงผลิตไฟฟ้า สถานีรถไฟ ที่จอดรถสาธารณะ เป็นต้น
  • ทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างพัฒนาเพื่อทำโครงการพักอาศัย และนิคมอุตสาหกรรม(3ปี ตั้งแต่ขออนุญาต)
  • ทรัพย์สินที่เป็น NPA ของสถาบันการเงิน (5ปี)
  • บ้านพักอาศัยซึ่งได้กรรมสิทธิ์มาจากการรับมรดก ก่อนที่ พ.ร.บ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมีผลบังคับใช้

ผ่อนปรน ทยอยปรับภาษีส่วนที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 25%, 50%, 75% ในช่วง 3 ปีแรก
ประเมินภาษี เทศบาลนครเชียงใหม่แจ้งการประเมินภาษี โดยส่งประเมินภาษีให้แก่ผู้เสียภาษีในเดือน กุมภาพันธ์
ชำระภาษี ต้องชำระภายในเดือนเมษายนของทุกปี
ผ่อนชำระ สามารถผ่อนชำระได้ 3 งวด คือ เมษายน, พฤษภาคม, มิถุนายน หากมียอดภาษีตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไป
เบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ในกรณีที่ผู้เสียภาษีไม่ได้ชำระภาษีภายในเวลาที่กำหนด ให้เสียเบี้ยปรับ ร้อยละ 40 ของจำนวนเงินภาษีที่ค้างชำระ และให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละ 1 ต่อเดือนของภาษีที่ค้างชำระ
อัตราโทษแลค่าปรับ
1.ผู้ใดขัดขวางการปฎิบัติหน้าที่ของพนักงานต้องระวังโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือนหรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
2. ผู้ใดไม่ปฎิบัติตามหนังสือเรียกของผู้บริการท้องถิ่นต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท



ภาษีป้าย

เป็นภาษีที่จัดเก็บจากป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อหรือ เครื่องหมายการค้า หรือ โฆษณา หรือ กิจการรอื่นเพื่อหารายได้ ไม่ว่าจะแสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใดๆ ด้วยตัวอักษรภาพหรือ เครื่องหมายที่เขียนแกะสลักจารึกหรือทำให้ปรากฎด้วยวิธีอื่น

อัตราภาษี

  1. ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน คิดอัตรา 3 บาทต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
  2. ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศ หรือ ปนกับภาพและเครื่องหมายอื่น คิดอัตรา 20 บาท ต่อ 500 ตารางเซนติเมตร
  3. ป้ายดังต่อไปนี้คิดอัตรา 40 บาท ต่อ ตารางเซนติเมตร
    ก. ป้ายที่ไม่มีอักษรไทยไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายใดๆหรือไม่
    ข. ป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วน หรือ ทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ
  4. ป้ายที่คำนวนพื้นที่และประเภทของป้ายแล้วเสียภาษีต่ำกว่า 200 บาทให้เสียภาษีในอัตรา 200 บาท

การยื่นประเมินและชำระภาษี

  1. เจ้าของป้ายซึ่งจะต้องเสียภาษีป้ายยื่นแบบแสดงรายการ ภาษีป้ายตั้งแต่ 1 มกราคม - 3 มีนาคม ของทุกปี โดยเสียเป็นรายปี ยกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้ง หรือแสดงในปีแรกให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน 15 วัน และให้เสียภาษีป้ายเป็นงวดๆ ละ 3 เดือนของปี
  2. ชำระภาษีป้ายภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินจากพนักงานเจ้าหน้าที่

การอุทธธรณ์

ถ้าผู้มีหน้าที่ที่เสียภาษีให้รับแจ้งการประเมินแล้วเห็นว่าไม่ถูกต้องให้ยื่นคำร้องอุทธรณ์ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามแบบ ภ.ป.4 ภายใน 30 วัน นับที่ได้รับการแจ้งประเมิน


อัตราโทษและค่าปรับ

  1. ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายในเดือนมีนาคม หรือ หลังติดป้าย 15 วัน เสียเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษี
  2. ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายโดยไม่ถูกต้อง ทำให้ค่าภาษีน้อยลง ต้องเสียงเงินเพิ่ม 10% ของค่าภาษีที่ประเมินเพิ่มเติม
  3. ไม่ชำระเงินภายใน 15 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมินเสียเงินเพิ่ม 2% ต่อเดือนของค่าภาษี เศษของเดือนนับเป็น 1 เดือน
  4. ผู้ใดจงใจไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้าย ต้องระวางโทษปรั่บตั้่งแต่ 5,000 - 50,000 บาท
  5. ผู้ใดไม่แจ้งการรับโอนป้าย ภายใน 30 วัน ตั้งแต่วันรับโอนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1,000 - 10,000 บาท
  6. ผู้ใดไม่แสดงชื่อ-ที่อยู่ เจ้าของป้ายเป็นอักษรไทยให้ชัดเจนที่มุมขวาล่างของป้าย ซึ่งติดตั้งบนอสังหาริมทรัพย์ของผู้อื่น และมีพื้นที่เกิน 2 ตารางเมตร ต้องระวางโทษ ปรับวันละ 100 บาท เรียงรายวันตลอดระยะเวลาที่กระทำความผิด
  7. ผู้ใดรู้อยู่แล้วหรือโดยจงใจแจ้งข้อความอันเป็นเท็จให้ถ้อยคำเท็จตอบคำถามด้วยถ้อยคำอันเป็นเท็จ หรือนำพยานหลักฐานเท็จมาแสดง เพื่อหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียภาษีป้ายต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับตั้งแต่ 5,000- 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

เอกสารที่ใช้ประกอบการยื่นแบบแสดงรายการ

  1. บัตรประจำตัวประชาชน / ทะเบียนบ้าน
  2. สำเนาโฉนดที่ดิน
  3. หลักฐานทะเบียนพาณิชย์(ถ้ามี)
  4. ใบอนุญาตก่อสร้างอาคารและแบบแปลน(ถ้ามี)
  5. หนังสือมอบอำนาจกรณีเจ้าของมิได้มาด้วยตนเอง
  6. ใบเสร็จรับเงินของปีที่ล่วงมาแล้ว

การยื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษี ให้ยื่น ณ สำนักงานแขวง ที่ทรัพย์สินนั้นตั้งอยู่ดังนี้


อ้างอิง
(Update 13MAR2020) เอกสารแผ่นพับ คำแนะนำสำหรับประชาชนเกี่ยวกับภาษีท้องถิ่น -เทศบาลนครเชียงใหม่-

เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่