ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดเชียงใหม่


 ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จังหวัดเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2512 เนื่องจากปัญหาชนกลุ่มน้อย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ชาวไทยภูเขา" ซึ่งมีถิ่นที่อยู่อาศัยทางภาคเหนือตอนบนของประเทศ ลักษณะการดำรงชีวิต เช่น การทำไร่เลื่อนลอย ปลูกพืชเสพติด การบุกรุกทำลายพื้นที่ป่า มีที่อยู่อาศัยไม่เป็นหลักแหล่ง ลักษณะการดำรงชีวิตที่สืบทอดกันมาจากบรรพบุรุษด้วยความจำเป็นในการดำรงชีพ ขาดความรู้ด้านวิชาการเกษตร ปัญหายาเสพติด ปัญหาการเสื่อมโทรมของสภาพดิน ปัญหาต้นน้ำลำธาร ตลอดจนทรัพยากรธรรมชาติบนที่สูงของประเทศ

        ในปี พ.ศ. 2511 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมหมู่บ้าน ชาวไทยภูเขาและทรงทอดพระเนตรเห็นสภาพความเป็นอยู่ที่ยากจนแร้นแค้นของราษฎรชาวไทยภูเขา อีกทั้งมีการปลูกพืชเสพติด เช่น ฝิ่น การทำลายพื้นที่ป่าต้นน้ำธาร พระองค์ทรงตระหนักถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น ทรงพระราชทานความช่วยเหลือ โดยการจัดตั้งโครงการหลวงพัฒนาชาวไทยภูเขาขึ้น ในปี พ.ศ. 2512  ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นของงานด้านการพัฒนาการเกษตรบนพื้นที่สูงขึ้น

      ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 กรมส่งเสริมการเกษตรได้เริ่มเข้าไปมีบทบาทในงานพัฒนาและส่งเสริมการเกษตรในเขตพื้นที่สูง โดยระยะแรกได้ดำเนินการในพื้นที่ 2 จุด คือ ศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงปางอุ๋งและศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูงอินทนนท์ จังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาได้ขยายขอบข่ายของงานส่งเสริมเพิ่มมากขึ้น ปัจจุบันได้จัดตั้งศูนย์ส่งเสริมการเกษตรที่สูง จำนวน 10 ศูนย์ย่อยในจังหวัดเชียงใหม่  มีพื้นที่ส่งเสริมจำนวน 69,893  ไร่  จำนวน  9,966 ครัวเรือน เกษตรกร   48,539  ราย 

ที่มา haec03.doae.go.th

กิจกรรมในเชียงใหม่