ที่ว่าการอำเภอไชยปราการ
  • 717 หมู่ 2 ถนนทางหลวง พร้าว - ไชยปราการ [1346] ตำบลหนองบัว  อำเภอ ไชยปราการ เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50320
  • 053-457-006 ,053-457-029
    • จันทร์-ศุกร์ 08:00-16:30
  • https://www.facebook.com/ที่ว่าการอำเภอไชยปราการ-120260428550155/...
  • ที่ว่าการอำเภอไชยปราการ
  • #ทำบัตรประชาชน #แจ้งย้ายออก #ทะเบียนบ้าน #ขอเลขที่บ้าน #ทะเบียนราษฎร #แจ้งเกิด #แจ้งตาย
  • ตำแหน่งจีพีเอส : 19.7322041, 99.1402489   (เปิดแผนที่บน Google Map) | เปิดพิกัดปัจจุบัน
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
    คำขวัญอำเภอไชยปราการ

    “ พระเจ้าพรหมสร้างเมือง รุ่งเรืองวัฒนธรรม งามล้ำถ้ำตับเต่า เมืองเก่าไชยปราการ


    อำเภอไชยปราการจัดตั้งเป็นเป็นกิ่งอำเภอ เมื่อปี พ.ศ. 2531 โดยแยกออกจากอำเภอฝาง เนื่องจากปัญหาความห่างไกลตัวเมืองฝาง จึงจัดตั้ง "กิ่งอำเภอไชยปราการ" ประกอบด้วยตำบลปงตำ ตำบลศรีดงเย็น ตำบลแม่ทะลบ และตำบลหนองบัว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2531[1] และในพ.ศ. 2537 ได้ตั้งเป็นอำเภอไชยปราการ

    ที่มา อำเภอไชยปราการ

    อัตราค่าธรรมเนียมและค่าปรับ การทําบัตรประจําตัวประชาชน

    1. บัตรหาย 100 บาท
    2. บัตรชํารุด 100 บาท
    3. บัตรถูกทําลาย 100 บาท 100 บาท
    4. เปลี่ยน / แก้ไข ชื่อตัวชื่อสกุล / เปลี่ยนที่อยู่
    5. ทําบัตรเกินกําหนด ปรับไม่เกิน 100 บาท

    การแจ้งการเกิด (คนไม่มีสัญชาติไทย)

    1. กรณีแรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติ หลักฐานที่ต้องนํามาแสดง
    2. หนังสือเดินทาง พร้อมคําแปลเป็นภาษาไทยของบิดาและมารดา
    3. แบบ ท.ร.๓๘/๑
    4. สําเนาทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
    5. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล

    *หลักฐานใช้ทั้งฉบับจริง และ ถ่ายสําเนา ๑ ชุด

    การแจ้งการย้ายออก
    1. ผู้มีหน้าที่แจ้งคือ เจ้าบ้านหรือผู้ที่จะย้ายออก
    2. หลักฐานที่ต้องนํามาแสดง
      • บัตรฯ ของเจ้าบ้านและผู้ย้ายออก
      • สําเนาทะเบียนบ้านฉบับที่จะย้ายออก
      • สูติบัตร(กรณีบิดา-มารดา แจ้งให้บุตรผู้เยาว์ )

    การแจ้งย้ายเข้า (ย้ายปกติ-ย้ายปลายทาง)

    1. ผู้มีหน้าที่แจ้งคือ เจ้าบ้านและผู้ที่จะย้ายเข้า
    2. หลักฐานที่ต้องนํามาแสดง
      • บัตรฯของผู้ที่จะย้ายเข้าและของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า
      • สําเนาทะเบียนบ้านฉบับที่จะย้ายเข้า
      • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่(ย้ายเข้าปกติ)
      • สําเนาทะเบียนบ้านเดิม ของผู้ที่จะย้ายเข้า (ย้ายปลายทาง)
      • สูติบัตร (กรณีบิดา-มารดา แจ้งให้บุตรผู้เยาว์)

    *หลักฐานใช้ทั้งฉบับจริง และ ถ่ายสําเนา ๑ ชุด

    การแจ้งการเกิด (คนไทย)

    1. ผู้มีหน้าที่แจ้ง คือ เจ้าบ้าน หรือ บิดา-มารดา
    2. หลักฐานที่ต้องนํามาแสดง
      • หลักฐานใช้ทั้งฉบับจริง และ ถ่ายสําเนา ๑ ชุด
      • บัตรประจําตัวผู้แจ้ง
      • บัตรประจําตัว บิดาและมารดา
      • สําเนาทะเบียนบ้าน
      • หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล
      • ทะเบียนสมรส หรือ
      • หนังสือยินยอมให้ใช้ชื่อสกุล จากมารดา

    กรณีบุคคลบนพื้นที่สูง หลักฐานที่ต้องนํามาแสดง

    1. บัตร และสําเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้ง
    2. บัตร และสําเนาทะเบียนบ้าน ของบิดา และมารดา
    3. ทะเบียนประวัติของบิดาและมารดา
    4. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล


กิจกรรม