สวนผักคนเมืองเชียงใหม่

โจทย์สำคัญของการทำโครงการนี้ คือ 

“จะทำอย่างไรให้สวนเกษตรเนื้อที่เกือบ 3 ไร่ใจกลางเมืองเชียงใหม่เกิดประโยชน์สูงสุด?” ทีมออกแบบ และทีมงานด้านการมีส่วนร่วม ได้ลองคำนวณทุนและผลที่จะเกิดประโยชน์สูงสุด ไว้ดังนี้

 ต้นทุนในการพัฒนาพื้นที่สวนผักคนเมือง


  • 1.ที่ดิน, สาธารณูปการพื้นฐาน (สนับสนุนโดยหน่วยงานรัฐ-เทศบาลนครเชียงใหม่, จังหวัดเชียงใหม่)
  • 2.การทำงานร่วมกันของเครือข่าย การออกแบบ ความรู้ด้านการเกษตร (สนับสนุนโดย เครือข่ายจิตอาสาเชียงใหม่)
  • 3.แรงงาน (โดยเครือข่ายชุมชนที่จะมาร่วมทำงาน)
  • 4.เพื่อนๆที่จะช่วยกันกระจายข่าว หาแรงสนับสนุนเพิ่มเติม (แรงใจและแรงกายการพัฒนาเบื้องต้น)
  • 5.สาธารณูปการเพิ่มเติม (ระบบน้ำ - ไฟฟ้า - อาคาร - อุปกรณ์ทำเกษตร) + พันธุ์พืช-พันธุ์ไก่ และวัสดุสิ้นเปลือง



ผลประโยชน์ทางตรงที่ได้คืนกลับมา


  • 1.ผลผลิตจากการทำเกษตร ที่จะเป็นแหล่งอาหารที่จะดูแลผู้คนได้ 300 ครัวเรือน (ปริมาณ 60,000 กก./ปี)
  • 2.พื้นที่เรียนรู้การทำเกษตร และพื้นที่สีเขียวในเมือง = มีผู้ใช้งานพื้นที่ 18,250 คน/ปี (เฉลี่ยวันละ 50 คน)
  • 3.พื้นที่กลางในการเชื่อมโยงตลาดอาหารปลอดภัยในราคายุติธรรมและเป็นมิตร


 ผลประโยชน์ทางอ้อม

  • 1. เกิดการจ้างงาน และสร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนริมคลองแม่ข่า และพื้นที่ใกล้เคียง
  • 2. เกิดเครือข่ายเกษตรในเมือง (Urban Farm) ช่วยส่งเสริมกิจกรรมการปลูกผักในเมือง
  • 3. เพิ่มพื้นที่สีเขียวใจกลางเมืองเชียงใหม่ ขนาด 3 ไร่
  • 4. สร้างพื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ เชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวจากสวนสัตตะมังคละ (พื้นที่ริมคลองแม่ข่า-สะพานศรีดอนไชย)
  • 5. ต้นแบบการพัฒนาพื้นที่สาธารณะ

โดยความร่วมมือของภาคประชาสังคม ภาครัฐ เอกชน และคนในชุมชน เพื่อการผลิตอาหาร สร้างพื้นที่สีเขียว และสร้างโอกาสการมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของคนในชุมชนริมคลองแม่ข่า พื้นที่ใกล้เคียง และคนเมืองเชียงใหม่

ที่มา ChiangmaiUrbanFarm

เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่