ฐานทัพจีนคณะชาติ กองพล 93
ประวัติความเป็นมาของอดีตทหารจีนคณะชาติ กองพล 93

          จากการที่ฝ่ายจีนคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะเหนือฝ่ายจีนคณะชาติในสงครามกลางเมืองเมื่อปี 2492 ทำให้จีนคณะชาติต้องถอนตัวไปใต้หวัน แต่มีกองกำลังส่วนหนึ่ง คือ กองพล 193 และกองพล 93 ประมาณ 20,000 คน ซึ่งอยู่ในมณฑลยูนนานได้ถอนตัวเข้าสู่ประเทศพม่า จนถึงปี 2497 สหประชาชาติได้ขอให้ประเทศไทยและสหรัฐอเมริการ่วมดำเนินการอพยพกองกำลังดังกล่าวไปไต้หวันประมาณ 7,000 คน และต่อมาในปี 2504 ได้อพยพไปไต้หวันเป็นรุ่นที่ 2 อีกประมาณ 4,500 คน ส่วนที่เหลือได้ถูกกองทัพพม่ากวาดล้าง จึงอพยพเข้าสู่ในเขตไทย โดยมีนายพลหลี่ เหวินฮ่วน (ชัย ชัยศิริ) เป็นผู้นำ อยู่ที่ บ.ถ้ำง๊อบ อ.ไชยปราการ จ.เชียงใหม่    และมีนายพลต้วน ซีเหวิน (ชีวัน คำลือ) เป็นผู้นำอยู่ที่ บ้านแม่สลอง อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ต่อมาในปี ๒๕๑๓ กองทัพกำลังดังกล่าวพร้อมด้วยครอบครัวจึงได้อพยพเข้าไปอยู่ในพื้นที่ ๑๓ หมู่บ้าน ของ จ.เชียงราย จ.เชียงใหม่ และ จ.แม่ฮ่องสอน ตามที่ บก.ทหารสูงสุด กำหนดเนื่องจากอดีต ทจช.ได้ทำคุณประโยชน์ให้กับประเทศไทยในการช่วยเหลือทางราชการต่อสู้และปราบปรามคอมมิวนิสต์ในพื้นที่บริเวณ ดอยหลวง ดอยยาว และดอยผาหม่น จ.เชียงราย ในปี ๒๕๑๔-๒๕๒๘ และพื้นที่เขาย่าจ.เพรชบูรณ์ ในปี ๒๕๒๔ ทำให้อดีต ทจช. เสียชีวิตและบาดเจ็บทุพพลภาพเป็นจำนวนมากซึ่งเป็นเหตุผลสำคัญให้รัฐบาลพิจารณากำหนดสถานะของอดีตทหารจีนคณะชาติดังนี้

-คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ ๖ ตุลาคม ๒๕๑๓ เห็นชอบให้อดีตทหารจีนคณะชาติอาศัยอยู่ในประเทศไทยในฐานะผู้อพยพ

- คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๒๑ กำหนดสถานะให้กับผู้ที่ทำคุณประโยชน์เป็นผู้เข้าเมือง
โดยชอบด้วยกฎหมายและให้แปลงชาติได้

- คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๗ กำหนดสถานะให้กับบุตรของอดีตทหารจีนคณะชาติ ด้วยการพิจารณาคืนสัญชาติไทยให้กับ
บุตรที่เกิดในประเทศไทยที่ถูกเพิกถอนสัญชาติตาม ปว.๓๓๗

-พฤษภาคม ๒๕๔๖ กระทรวงมหาดไทยได้ดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๑๒ มิถุนายน ๒๕๒๗ โดยได้มีการแปลงสัญชาติให้กับอดีตทหารจีนคณะชาติไปแล้ว ประมาณ ๗,๐๐๐ คน (ยอดอดีตทหารจีนคณะชาติทั้ง ๓ จังหวัด มี ๑๓,๗๒๘ คน
ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนินการ

ที่มา http://www.piangluang.go.th/index.php?op=dynamiccontent_detail&dynamiccontent_id=77778&id=21220

เทรนด์
เมษายน 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่