โบราณสถาน วัดต้นกอกร้าง (เวียงท่ากาน)

วัดต้นกอก (ร้าง)

เวียงท่ากาน วัดต้นกอก (ร้าง) ตั้งอยู่เขตนอกตัวเวียงท่ากานทางทิศตะวันตก เป็นโบราณสถานวัดร้างในพุทธศาสนาหนึ่งในจํานวนโบราณสถานวัดร้างทั้งหมดร่วม 23 วัดของเวียงท่ากาน หลักฐานด้านโบราณวัตถุ-โบราณสถาน จากการ ขุดค้น-ขุดแต่งทางโบราณคดีและบูรณะโบราณสถาน ของกรมศิลปากรในระยะที่ผ่านมา ได้พบหลักฐานพัฒนาการ การอยู่อาศัยชุมชนตั้งแต่ระยะสมัยหริภุญไชย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๘) ถึงสมัยล้านนา (พุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๑) อัน เป็นภาชนะดินเผารูปแบบต่างๆ ด้านโบราณสถาน

พบการกระจายตัวของสิ่งก่อสร้าง นอกจากพระเจดีย์ประธาน และพระวิหารแล้ว ยังปรากฏซากฐานอาคารขนาดเล็ก 2 หลัง (ที่ยังไม่ทราบประโยชน์ใช้สอยชัดเจน เพราะมีสภาพพัง ทลายเสียหายมาก ปรากฏหลักฐานเพียงร่องรอยการก่อเรียงอิฐขาดหายเป็นช่วงๆ เท่านั้น) บ่อน้ํา และเวจกุฎี (ส้วม) ในพื้นที่ทางตอนเหนือของวัดที่น่าจะเป็นเขตกุฏิสงฆ์ด้วย อีกทั้งผลการขุดค้นในพื้นที่ตอนกลางติดกับฐานเจดีย์ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือนั้น พบชั้นดินมีกิจกรรมอยู่อาศัย (Habitationlayer) เพียงชั้นดินตอนบนที่เป็นชั้นดิน วัฒนธรรมล้านนา โดยไม่พบชั้นดินของวัฒนธรรมหริภุญไชยแต่อย่างใด

พระเจดีย์ประธานของวัดต้นกอก (ร้าง) สร้างก่ออิฐถือปูน จัดเป็นเจดีย์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของวัดในเขตเวียงท่ากานมีรูปทรงระฆังบนฐานปัทม์ย่อเก็จ 3 ชั้น จํานวน 3 ฐาน องค์พระเจดีย์ตอนบน มีลักษณะแบบเจดีย์ทรง ระมังล้านนาโดยทั่วไปคือมีส่วนองค์ระฆังตั้งอยู่บนชั้นฐานปัทม์ย่อเก็จและชั้นมาลัยเถา เหนือส่วนองค์ระฆังขึ้นไป เป็นส่วนบัลลังก์ ก้านฉัตร ปล้องไฉน และปลียอด ตามลําดับ ซึ่งผลจากการขุดตรวจในส่วนรอยต่อของฐานปัทม์ตอนล่างแต่ละชั้นนั้น ได้พบอิฐพังทลายเสียหายทับถมกันอย่างหนาแน่น โดยไม่อาจสันนิษฐานถึงรูปแบบเจดีย์องค์เดิมที่อยู่ภายในได้ และจากลักษณะ/รูปแบบพระเจดีย์องค์ปัจจุบันนี้ สามารถกําหนดอายุของวัดได้ในระยะพุทธ ศตวรรษที่ ๒๑

สํานักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่

ที่มา ป้ายประชาสัมพันธ์จุดด้านหน้าโบราณสถานนั้น 


เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่