โบราณสถาน วัดป่าไผ่รวก ร้าง (เวียงท่ากาน)

วัดป่าไผ่รวก (ร้าง) ชื่อวัดป่่าไผ่รวก

เป็นชื่อที่เรียกกันไหนในสมัยหลัง เนื่องจากในบริเวณพื้นที่วัดมีสภาพต้นไผ่รวกขึ้นเจริญเติบโต หนาแน่น เป็นหนึ่งในวัดร้างจํานวนกว่า 30 แห่งที่สํารวจพบแล้วในเขตเวียงท่ากาน วัดนี้ตั้งอยู่นอกเวียงทางทิศตะวันตกใกล้ มุมคู/กําแพงเวียง จัดเป็นวัดขนาดค่อนข้างใหญ่ ด้านหน้าวัดสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก บริเวณวัดปรากฎหลักฐานซาก เหลือสิ่งก่อสร้างก่ออิฐถือปูน จํานวน 12 แห่ง คือพระเจดีย์และพระวิหาร สร้างตอนบนฐานเดียวกันที่ปรากฎการสร้างทับซ้อน 5 สมัย อันถือว่าเป็นสิ่งก่อสร้างหลักของวัด โดยมีทางเดินปูนอิฐเข้อมกับประตูโขงกําแพงวัดด้านหน้า (ทิศตะวันออก) แวดล้อม ด้วยขากฐานอาคารน้อยใหญ่อีกจํานวนร่วม 10 แห่ง บางแห่งก่อสร้างเป็นกลุ่มอาคาร 3 หลังมีทางเดินเชื่อมถึงกัน แต่ส่วน ใหญ่สร้างเป็นอาคารเดียวที่ไม่ทราบประโยชน์ใช้สอยชัดเจน เนื่องจากไม่พบหลักฐานประกอบร่วมอื่นๆ เพียงพอที่จะวิเคราะห์ได้ แต่สันนิษฐานว่าคงเป็นพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปสําคัญ หอพระไตรปิฎก และศาลา แต่ไม่มีพระอุโบสถเพราะไม่พบ หลักฐานใบสีมาที่มักพบปักไว้โดยรอบอาคาร ขอบเขตกําแพงวัดลักษณะสี่เหลี่ยมขนาดเฉลี่ย 45 x 42 เมตร โดยส่วนมุมทิศ ตะวันตกเฉียงใต้มีถนนปัจจุบันตัดผ่าน

หลักฐานที่เป็นโบราณวัตถุสําคัญพบจากการขุดแห่งวัดนี้ในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ นอกจากวัสดุประกอบสถาปัตยกรรม คืออิฐ ปูนปั้น โครงแกนโลหะของฉัตร แผ่นทองจังโก ตะปู กระเบื้องดินเผามุงหลังคา และเศษภาชนะดินเผาจากแหล่งเตาสมัยหริภุญไขยและสมัยล้านนาประเภทต่างๆ แล้ว หลักฐานพระแผงห้าร้อย แม่พิมพ์ของพระพิมพ์ดินเผาแบบหริภุญไชย อันแสดง ถึงร่องรอยการอยู่อาศัยของชุม ที่มีความต่อเนื่องกันตั้งแต่สมัยหริภุญไชยเรื่อยมาจนถึงสมัยล้านนา แม้ว่าหลักฐานด้าน สิ่งก่อสร้างของวัดที่พบปัจจุบันมีรูปแบบสมัยล้านนา แต่หลักฐานการซ่อมเสริมหรือก่อสร้างใหม่เพิ่มเติมในบริเวณวัดสมัยหลังมา ย่อมพบเสมอจากร่องรอยจากการพังทลายหรือการขุดแต่งทางโบราณคดี เพราะเกิดจากความเสื่อมสลายของวัสดุก่อสร้าง หรือมีกระแสวัฒนธรรมของพุทธศาสนารุ่นใหม่ๆ เข้ามา

ตามที่ปรากฏหลักฐานในบันทึกทางประวัติศาสตร์ระยะเวลาต่างๆ โดย ในกรณีเวียงท่ากานโดยภาพรวม พบหลักฐานของพุทธศาสนาแบบมหายานในระยะสมัยหริภุญไชย (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๔ จากการที่นิยมทําพระพุทธรูปหรือพระพิมพ์ที่มีพระหลายๆ องค์อยู่ในพิมพ์เดียวกัน หรือ แม้แต่ในระยะสมัยล้านนา (พุทธศตวรรษ ที่ ๑๙-๒๑) ที่พบหลักฐานพุทธศาสนาแบบหินยานแบบลังกาวงศ์ในระยะแรก และแบบสิงหลหรือลังกาใหม่ในระยะหลัง

ดังนั้น การกําหนดอายุสมัยของวัดป่าไผ่รวกแห่งนี้ จึงอนุมานว่าน่าจะอยู่ในระยะปลายสมัยหริภุญไชยต่อเนื่อง มาถึงสมัยล้านนา ประมาณพุทธศตวรรษที่ ๑๔ - ๒๓

สํานักศิลปากรที่ ๔ เชียงใหม่ 

ที่มา ป้ายประชาสัมพันธ์จุดด้านหน้าโบราณสถานนั้น 

เทรนด์
เมษายน 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่