ศูนย์อุตสาหกรรมทำร่มบ่อสร้าง
- 111/2 หมู่ที่ 3 ถนนทางหลวง ดอยสะเก็ด - สันป่าค่า [ 1014] ตำบลต้นเปา อำเภอสันกำแพงเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50130
- 053-338-195
-
- เปิดทุกวัน 08:30-17:00
- https://www.facebook.com/UmbrellaMakingCentreChian...
- #ร่มทำมือ #ศูนย์อุตสาหกรรม
-
ตำแหน่งจีพีเอส : 18.7642373, 99.0823899 (เปิดแผนที่บน Google Map) | เปิดพิกัดปัจจุบัน
- CALL CENTER : 053-338195
- TEL. : 053-338324
- FAX : 053-338928
- WWW : handmade-umbrella.com
- FACEBOOK : UmbrellaMakingCentreChiangMai
- Email : borsang@hotmail.com
ทำไมบ่อสร้าง ต้อง ‘ก๋างจ้อง’ ?
เมื่อเอ่ยถึงเมืองเชียงใหม่ หนึ่งในสัญลักษณ์ที่หลายๆ คนคุ้นเคย และน่าจะนึกถึงขึ้นมาเป็นอันดับแรกๆ ก็คือร่มบ่อสร้าง สินค้าหัตกรรมชุมชนจากบ้านบ่อสร้าง อำเภอสันกำแพง เชียงใหม่ แม้ทุกคนจะรู้จักแต่น้อยคนจะรู้ว่าร่มบ่อสร้างมีที่มาที่ไปอย่างไร ทำไม ‘ร่ม’ จึงกลายมาเป็นสัญญลักษณ์ของเชียงใหม่ และเหตุใดจึงต้องเกิดขึ้นที่ ‘บ่อสร้าง’
ภายหลังการเข้ามาอยู่อาศัยของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน แต่ละชุมชนในเชียงใหม่ต่างอยู่อาศัยโดยประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และใช้เวลาว่างจากการดูแลเรือกสวนไร่นาผลิตงานฝีมือตามแต่ความถนัด อย่างงานแกะสลักไม้, ตีมีด, ทอผ้า หรือแม้กระทั่งการทำร่ม เมื่อชุมชนขยายตัวสินค้าหัตถกรรมเหล่านี้ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น มีการผลิตและซื้อขายอย่างคึกคัก แต่ละชุมชนมีการผลิตและสานต่อความรู้ให้กับคนในชุมชนของตนเอง เกิดเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ที่จะมีงานฝีมือโดดเด่นไม่ซ้ำใคร
ภายหลังการเข้ามาอยู่อาศัยของผู้คนหลากหลายเชื้อชาติเมื่อสองร้อยกว่าปีก่อน แต่ละชุมชนในเชียงใหม่ต่างอยู่อาศัยโดยประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก และใช้เวลาว่างจากการดูแลเรือกสวนไร่นาผลิตงานฝีมือตามแต่ความถนัด อย่างงานแกะสลักไม้, ตีมีด, ทอผ้า หรือแม้กระทั่งการทำร่ม เมื่อชุมชนขยายตัวสินค้าหัตถกรรมเหล่านี้ก็ได้รับความนิยมมากขึ้น มีการผลิตและซื้อขายอย่างคึกคัก แต่ละชุมชนมีการผลิตและสานต่อความรู้ให้กับคนในชุมชนของตนเอง เกิดเป็นลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ที่จะมีงานฝีมือโดดเด่นไม่ซ้ำใคร
แต่เมื่อเทคโนโลยีได้เจริญขึ้น ประกอบกับหัตถกรรมร่มบ่อสร้างเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย ผู้ผลิตในชุมชนจึงรวมตัวกันตั้งเป็นสหกรณ์ขึ้นในหมู่บ้าน เรียกว่า ‘สหกรณ์ทำร่มบ่อสร้าง จำกัดสินใช้’ โดยมีนายจำรูญ สุทธิวิวัฒน์ สหกรณ์จังหวัดในสมัยนั้นเป็นผู้ดำเนินการ และชักชวนให้ประชาชนทำร่มขนาดต่างกันเพื่อรองรับการใช้งานอันหลากหลาย โดยมีทั้งร่มผ้าและร่มกระดาษ และใช้สีน้ำมัน เช่น สีแดง เหลือง น้ำเงิน และสีเขียว ผสมกับน้ำมันมะหมื้อแทนการใช้สีสันดั้งเดิม ทำให้ร่มบ่อสร้างมีความน่าสนใจ และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จากนั้นประมาณปี พ.ศ. 2500 ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคเหนือ เข้ามาช่วยพัฒนาการทำกระดาษสาให้สามารถผลิตได้อย่างมีคุณภาพมากขึ้น ด้วยแม่พิมพ์ตาข่ายเหล็ก รวมทั้งสนับสนุนให้มีการเขียนภาพดอกไม้และทิวทัศน์บนร่ม เหล่านี้สร้างเอกลักษณ์ให้ร่มจากบ้านบ่อสร้างเป็นที่จดจำ และนิยมอย่างแพร่หลายในหมู่นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างชาติ ในฐานะของฝากจากเมืองเชียงใหม่
ที่มา handmade-umbrella.com