โบราณสถาน วัดพระเจ้าก่ำ (เวียงท่ากาน)

วัดพระเจ้าก่ำ (ร้าง)

วัดพระเจ้าก่ำ (ร้าง) ตั้งอยู่พื้นที่เขตในเวียงท่ากานใกล้มุมเมืองทิศตะวันออก ชื่อพระเจ้าก่ำ หมายถึงพระพุทธรูปสําริดถูกเผาไฟที่พบ ในเขตวัดในอดีต ด้านผังการสร้างวัด วัดพระเจ้าก่ำสร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ สิ่งก่อสร้างในบริเวณวัดปรากฎซากโบราณสถานก่ออิฐถือปูน ที่เป็นองค์พระเจดีย์ประธานและพระวิหารสร้างติดกัน มีขนาดค่อนข้างใหญ่และพบหลักฐาน การก่อสร้างซ้อนทับอย่างน้อย 2 ครั้ง

  • โดยส่วนองค์เจดีย์ประกอบด้วยส่วนฐานปัทม์ตอนล่าง มีลักษณะคล้ายฐานยกพื้นเป็น ลานกว้างรอบองค์เจดีย์ที่วิเคราะห์ว่าน่าจะเป็นทรงมณฑปปราสาท เพราะพบหลักฐานปูนปั้นประดับองค์เจดีย์จากการขุดแต่ง
  • ในส่วนพระวิหารเป็นอาคารสร้างยกพื้นสูง มีบันไดขึ้นลงเฉพาะทางด้านหน้า โครงสร้างเสาก่ออิฐรับเครื่องหลังคา 2 ระดับ แบบหน้าจั่ว ตอนกลางและหลังคาปีกนกสองข้าง พื้นวิหารพบหลักฐานการปูแผ่นอิฐและฉาบปูน 2 สมัย เช่นเดียวกับในส่วน ฐานที่พบร่องรอยการช่อมเสริมในสมัยหลังด้วย เนื่องจากวิหารหลังนี้ไม่พบหลักฐานของฐานชุกชีพระประธานที่มักสร้างอยู่ ตอนหลัง จึงสันนิษฐานว่าน่าจะใช้พระพุทธรูปที่อยู่ในส่วนองค์พระเจดีย์เป็นพระประธาน ลักษณะเดียวกับวิหารของวัดปราสาท และวิหารลายคําของวัดพระสิงห์วรมหาวิหารในเมืองเชียงใหม่ ที่มีรูปแบบการก่อสร้างวิหารติดกับองค์เจดีย์เหมือนกัน 

โบราณวัตถุสําคัญที่พบจากการขุดแต่งวัดแห่งนี้ในปี พ.ศ.๒๕๓๒ คือชิ้นส่วนแผ่นทองจังโก ที่เป็นแผ่นสำริดทรงสี่เหลี่ยมบาง ขอบมีรูสําหรับเย็บตะเข็บติดกันและบรรจองคําเปลวหุ้มเจดีย์ทั้งองค์ไว้ แน่นสําริดฉลุลายสาหรับประดับตกแต่งใน ส่วนต่างๆ ขององค์เจดีย์โดยเฉพาะในส่วนของฉัตร ชิ้นส่วนปูนปั้นลายพรรณพฤกษา ในส่วนพระพุทธรูปสําริด พระพุทธรูปหินทราย เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น(ชํารุด) พระแผงห้าร้อยดินเผา และเศษภาชนะดินเผาทั้งแบบเนื้อดินไม่แกร่ง ทั้งแบบพื้นเมือง และแบบหริภุญไชย ที่มีเทคนิคการตกแต่งผิวเป็นลวดลายแบบถมน้ำดิน ในร่องที่เกิดจากการกดประทับหรียขูดขีด แล้วขัดมันอีกทั้งภาชนะดินเผาเนื้อดินแกร่ง แหล่งเตาล้านนา เตาศรีสัชนาลัย และเครื่องเคลือบเนื้อขาว ลายเขียนสีน้ำเงิน  ที่น้าเข้า จากจีนสมัยราชวงศ์หมิง (พ.ศ.๑๙๑๑-๒๑๘๗)

อายุสมัยของวัดนี้ประมาณว่าอยู่ในปลายสมัยหริภุญไชยต่อเนื่องกับสมัยล้านนา ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๒๐

สํานักศิลปากรที่ ๘ เชียงใหม่

ที่มา ป้ายประชาสัมพันธ์จุดด้านหน้าโบราณสถานนั้น 


เทรนด์
เมษายน 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่