พระบรมราชาอนุสาวรีย์พระเจ้าสามฝั่งแกน

พญาสามฝั่งแกน หรือ “สามประหญาฝั่งแกน” หรือ “พระเจ้าสามปรายงค์แม่ใน” หรือ “เจ้าดิสกุมาร”กษัตริย์ล้านนาในราชวงศ์มังราย ผู้ครองนครเชียงใหม่ โอรสของพญาแสนเมืองมา และได้สถาปนาพระราชมารดาไว้ในที่สมเด็จพระชนนีพันปีหลวง พระมหาเทวีโลกะ-จุกราชเทวีในฐานะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ที่มาของพระนามพญาสามฝั่งแกน ทรงได้รับการตั้งพระนามตามสถานที่ประสูติ ในปัจจุบันสันนิษฐานว่าอยู่ที่ตำบลอินทขิล อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยบริเวณเมืองเก่านี้มีแม่นำสามสาย ได้แก่ 1.แม่น้ำแกน 2.แม่น้ำปิง และ 3.แม่น้ำสงัดหรืองัด เพราะเหตุที่ประสูติ ณ พันนาฝั่งแกน จึงได้ชื่อว่า “เจ้าสามฝั่งแกน”

ตำนานเชียงใหม่ได้กล่าวสรรเสริญพระเกียรติของพระองค์ว่า มีสติปัญญาสามารถองอาจกล้าหาญ จัดการรักษาบ้านเมืองในเวลาศึกสงครามดีมาก ทั้งสงคราม ป้องกันการรุกรานของฮ่อและศึกสงครามกับกรุงสุโขทัยในด้านศาสนาได้มีการสถาปนานิกายลังกาวงศ์ขึ้นใหม่ หลังจากส่งพระมหาเถระจากเชียงใหม่ 25 องค์ เดินทางไปศึกษาที่วัดถูปาราม นครอนุราธปุระในลังกา เมื่อปี พ.ศ.1967 โดยกลับมาจำพรรษาที่วัดป่าแดงมหาวิหาร และที่วัดป่าแดงนี้เป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพพญาสามฝั่งแกน โดยพระเจ้าติโลกราชโปรดให้สถาปนาพระสถูปบรรจุอัฐิธาตุพระราชบิดาไว้ด้วย ซึ่งนอกจากนี้สมัยพญาสามฝั่งแกนได้มีการสร้างวัดเจดีย์หลวงต่อจากพญาแสนเมืองมา พระราชบิดา โดยมีพระมหาเทวี พระราชมารดาเป็นผู้ดูแลการก่อสร้าง สืบเนื่องจากพญาสามฝั่งแกนยังทรงพระเยาว์อยู่ ซึ่งในช่วงการก่อสร้างพระเจดีย์หลวงนั้นพระองค์ทรงรับสั่งให้เจาะก าแพงเมืองเป็นประตูเมือง เรียกว่าประตูสวนแร ต่อมาเปลี่ยนเป็นประตูสวนปุง หรือสวนปรุง (คือแทงพุง) เนื่องจากได้นำพวกกบฏมาประหารโดยใช้หอกหรือหลาวแทงพุงการเจาะประตูสวนปรุงนี้เพื่อให้พระราชมาดาที่ทรงประทับตำหนักสวนแร ตั้งอยู่นอกเวียงทางทิศใต้นอกเขตกำแพงเมือง 

นอกจากนี้พระองค์เป็นผู้อัญเชิญพระแก้วมรกต(พระพุทธมหามณีรัตนปฎิมากร)มาจากเชียงรายซึ่งในระหว่างทาง หมื่นโลก พระนคร พระญาติซึ่งเป็นเจ้าเมืองลำปางก็ทูลขอพระแก้วไว้ที่เมืองลำปาง ต่อมาพระเจ้าติโลกราชพระราชโอรส ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่เชียงใหม่พระเจ้าสามฝั่งแกนโปรดให้สร้างวัดใหญ่ในต าบลพันนาฝั่งแกนขนานนามว่า “วัดพึง” หรือ“วัดบุรณฉันท์” ในชิลกาลมาลินีในภาษาบาวี ค าว่า “ปุรจฺฉนฺน” แยกศัพท์ได้คือ “ปุร” แปลว่า“เมือง” ส่วน “ฉนฺน” แปลว่า “มุง” ในปัจจุบันคือวัดศรีมุงเมือง อยู่ที่ตำบลลวงเหนือ อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ และยังได้สถาปนาเวียงเจ็ดลินขึ้นเพื่อใช้เป็นวัตถุประสงค์ในการเป็นป้อมปราการป้องกันข้าศึกที่จะมารุกรานเชียงใหม่ รวมทั้งใช้เป็นพระราชวังในการแปรราชฐานของเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่อีกด้วย เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ พระเกียรติยศแห่งองค์พระเจ้าสามฝั่งแกนพสกนิกรในทุ่งพันแอกพันเฝือพันนาฝั่งแกน จึงได้รวบรวมพลังแห่งจิตศรัทธา ร่วมกันจัดพิธีเททองหล่อพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ท่านไปเมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓ และได้อัญเชิญพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าสามฝั่งแกน ขึ้นประดิษฐานบนแท่นพระบรมราชานุสาวรีย์ ในวันที่๑๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ หรือวัน “พญาวัน” ตามปฏิทินของชาวล้านนา พร้อมกันนี้ได้กำหนดให้มีพิธีวางศิลาฤกษ์เสาอินทขิลเมืองแกน ในวันที่ ๑๖ เมษายน พ.ศ.๒๕๕๕ และถือให้เป็นวันบวงสรวงพระบรมราชานุสาวรีย์พระเจ้าสามฝั่งแกนของทุกปี

ที่มา files (muangkaen.go.th)


เทรนด์
เมษายน 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่