ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่


ศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่
                   สถานีทดลองข้าวสันป่าตอง สังกัดกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2496 ต่อมาได้มีการปฏิรูประบบราชการโดยมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่5) พ.ศ.2546 และพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.2546 ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ.2546 ได้เปลี่ยนชื่อจากสถานีทดลองข้าวสันป่าตองเป็นศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตเชียงใหม่ 1 และในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2547 ได้ยกฐานะเป็นศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ สังกัดกองวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปี 2549ปรับจากกรมวิชาการเกษตรเป็นกรมการข้าวจนถึงปัจจุบัน

วิสัยทัศน์
"ศูนย์วิจัยข้าวเหนียวพันธุ์ดี พร้อมมีข้าวพื้นเมือง ลือเลื่องบริการ สืบสานงานพระราชดำริ"

พันธกิจ
1. สร้างทีมงานมืออาชีพ และทำงานเชิงรุกด้านการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว
2. สร้างระบบและขั้นตอนการดำเนินงานโดยทุกคนมีส่วนร่วมเพื่อใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ
3. ส่งเสริมการผลิต เพิ่มมูลค่าข้าวพันธุ์พื้นเมือง และหอมมะลิของจังหวัดเชียงใหม่

การใช้ประโยชน์พื้นที่และแหล่งน้ำ
พื้นที่ทั้งหมดประมาณ 220 ไร่ แบ่งการใช้ประโยชน์ดังนี้
- แปลงทดลองและแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ 142 ไร่
- อาคารและสิ่งก่อสร้าง 50 ไร่
- ถนน แหล่งน้ำ และเส้นทางน้ำ 28 ไร่

แหล่งน้ำที่ใช้ในการดำเนินงานมี 3 แหล่งคือ
ชลประทานหลวงแม่แตง น้ำฝน และสระเก็บน้ำ

ลักษณะดินฟ้าอากาศ
พืน้ที่เป็นที่ราบ เนื้อดินเหนียวร่วนปนทราย เป็นดินชุดหางดง สันป่าตอง
และแม่ขาน ดินมีความเป็นกรดด่าง 6.0 ปริมาณอินทรีวัตถุ 1.6 % ปริมาณฟอสฟอรัลที่เป็นประโยชน์ 43 ppm. ปริมาณโพแทสเซี่ยมสกัดได้ 60 ppm. ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย (2540-2549) 1,023 มม.ต่อปี ฝนตกมากที่สุดในเดือนกันยายนและน้อยที่สุดในเดือนมกราคม อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 32.5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 20.6 องศสเซลเซียส ความชื้นสัมพันธ์เฉลี่ย 86.8 เปอเซ็นต์

โครงสร้างการบริหารงานของศูนย์วิจัยข้าวเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น
1. ฝ่ายบริหารงานทั่วไป
ควบคุม ดูแลงานด้านการเงิน/ธุรการ พัสดุ งานจัดการฝ่ายไร่ งานจักรกลการเกษตร ตลอดจนประสานงานกับฝ่ายต่างๆ ทั้งภายในศูนย์และหน่วยงานภายนอก
2. กลุ่มวิชาการ
ดําเนินการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวและการผลิตข้าวให้มีคุณภาพ สอดคล้องกับความต้องการของเกษตรกร ผู้ประกอบการ ตลอดจนผู้บริโภค
3. กลุ่มผลิตเมล็ดพันธุ์
ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวชั้นพันธุ์คัดและพันธุ์หลักพันธุ์ดี คุณภาพสูง ตรงตามพันธุ์ รวมทั้ง สนับสนุนส่วนราชการที่มีหน้าที่ผลิตเมล็ดพันธุ์ชั้นพันธุ์ขยายและบางส่วนจําหน่ายตรง แก่เกษตรกร
4. กลุ่มถ่ายทอดเทคโนโลยี
เผยแพร่และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านข้าวแก่เกษตรกรและผู้สนใจโดยทั่วไป ทั้งในรูปการ อบรม วิทยากร การจัดทําสื่อแนะนําความรู้ด้านข้าว การร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ใน การจัดนิทรรศการงานคลินิกเกษตร ตลอดจนการประสานงานฝึกงานแก่นิสิต นักศึกษา

ที่มาcmi-rrc.ricethailand.go.th

เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่