โครงการหลวง (แม่เหียะ)
- ถนนราชพฤกษ์ (สวนราชพฤกษ์) ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50200
- 053-114-221
-
- เปิดทุกวัน 08:30-16:30
- https://www.facebook.com/ร้านโครงการหลวง-สาขาแม่เห...
- #ผักปลอดสารพิษ #ดอยคำ #บ๊วยดอง #ผลไม้อบแห้ง #น้ำผลไม้ #นมอัดเม็ด #อโวคาโด่
-
ตำแหน่งจีพีเอส : 18.7528263, 98.9262530 (เปิดแผนที่บน Google Map) | เปิดพิกัดปัจจุบัน
- CALL CENTER : 0-5381-0765-8
- FAX : 0-5332-4000
- WWW : royalprojectthailand.com
- FACEBOOK : royalproject.pr
- Email : pr@royalproject.org
ศูนย์พัฒนาโครงการหลวง
ต้นปี พ.ศ. 2521 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จเยี่ยมราษฎรชาวเขาในพื้นที่ต่างๆ ทรงพบชาวเขาซึ่งอยู่ในถิ่นทุรกันดาร มีสภาพยากจน และยากแก่การเข้าถึง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พัฒนาหมู่บ้านชาวเขาในพื้นที่ทุรกันดารเหล่านั้น เพื่อพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของชาวเขา ลดการปลูกฝิ่น และฟื้นฟูป่าต้นน้ำลำธาร โดยหม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ได้หารือกับผู้บริหารของหน่วยราชการต่างๆ เพื่อส่งอาสาสมัครไปเป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารโครงการ เรียกว่า ผู้ประสานงานโครงการ เนื่องจากเห็นว่าในการพัฒนาชุมชนชาวเขานั้นจำเป็นต้องร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ หลายหน่วยงาน โดยมีหน่วยงานที่มีอาสาสมัครปฏิบัติงานด้านการพัฒนาชาวเขา ประกอบด้วย สำนักงานเกษตรภาคเหนือ สถาบันเทคโนโลยีการเกษตรแม่โจ้ กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมประชาสงเคราะห์ ระยะแรกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานพระราชทรัพย์เพื่อเป็นงบประมาณสำหรับการดำเนินงาน เรียกชื่อโครงการการพัฒนาหมู่บ้านของชาวเขาในระยะนั้นว่า โครงการหลวง โดยโครงการหลวงแต่ละแห่งจะครอบคลุมพื้นที่ 4-9 หมู่บ้าน ได้แก่ โครงการหลวงแม่แฮ โครงการหลวงทุ่งหลวง โครงการหลวงแม่ปูนหลวง โครงการหลวงปางอุ๋ง และโครงการหลวงแม่ลาน้อย ตามลำดับ เมื่อผลจากการวิจัยเริ่มปรากฏมากขึ้น พ.ศ. 2522 หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี ทรงขอความร่วมมือจากกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA/ARS) เพื่อให้การสนับสนุนการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของชาวเขาในพื้นที่ต่างๆ รวม 5 แห่ง เพื่อให้ชาวเขามีอาชีพการเกษตรอื่นๆ ทดแทนการปลูกฝิ่น โดยเริ่มการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานโครงการหลวงแต่ละแห่ง เมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2523 ปีละ 50,000 เหรียญสหรัฐ (1 เหรียญเท่ากับ 20 บาท) ซึ่งแต่ละโครงการต้องส่งรายงานความก้าวหน้าปีละ 2 ครั้ง จนถึง พ.ศ. 2529 สหรัฐอเมริกาได้เปลี่ยนหน่วยให้ความช่วยเหลือจาก USDA/ARS มาเป็นหน่วยงานด้านยาเสพติด (NAU) ของสถานเอกอัคราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทยแทน ...ดูรายละเอียดศูนย์พัฒนา 39 ศูนย์
มูลนิธิโครงการหลวง
พ.ศ. 2535 พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้โครงการหลวงจดทะเบียนเป็นมูลนิธิโครงการหลวง โดยพระราชทานเงินเพื่อเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิฯ เริ่มแรก 500,000 บาท เพื่อให้เป็นองค์กรสาธารณประโยชน์ที่ถาวรมั่นคง สามารถดำเนินการอย่างต่อเนื่อง มีระบบงานที่แน่นอนรองรับ มีการบริหารงานภายในคล่องตัว มีประสิทธิภาพในการดำเนินงานและเกิดผลดียิ่งขึ้นในอนาคต
เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2560 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชโองการ โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งคณะกรรมการมูลนิธิโครงการหลวงชุดใหม่ โดยมี นายจรัลธาดา กรรณสูต เป็นประธานกรรมการ พลอากาศเอก สถิตย์พงษ์ สุขวิมล และ พันโท สมชาย กาญจนมณี เป็นรองประธานกรรมการ พลเอก กัมปนาท รุดดิษฐ์ พลเรือเอก พงษ์เทพ หนูเทพ นายกฤษณ์ กาญจนกุญชร พันตํารวจเอก ธรรมนิธิ วนิชย์ถนอม พลอากาศเอก อํานาจ จีระมณีมัย พลเอก จักรภพ ภูริเดช พลอากาศโท ภักดี แสง-ชูโต เป็นกรรมการและเหรัญญิก คุณจันทนี ธนรักษ์ เป็นกรรมการและผู้ช่วยเหรัญญิก และ พลเรือเอก ปวิตร รุจิเทศ เป็นกรรมการและเลขานุการ ด้วยทรงมีพระราชปณิธานแน่วแน่ที่จะสืบสาน รักษา และต่อยอดงานโครงการหลวงให้มีความต่อเนื่อง ยั่งยืน เป็นไปตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ในการดําเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ อันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติโดยส่วนรวม โดยทรงดำรงตำแหน่งองค์นายกกิตติมศักดิ์ของมูลนิธิโครงการหลวง และมีศูนย์พัฒนาโครงการหลวงเลอตอ อำเภอแม่ละมาด จังหวัดตาก เป็นศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแห่งแรกในรัชสมัย เป็นศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแห่งที่ 39 ของโครงการหลวง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลและน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ผู้ทรงก่อตั้งโครงการหลวง
ที่มา royalprojectthailand.com
ปัจจุบัน มูลนิธิโครงการหลวง ยังคงมุ่งดำเนินงานวิจัย และพัฒนางานด้านต่าง ๆ เพื่อพัฒนาให้ชุมชนโครงการหลวงมีความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยวิธีการปฏิบัติงานพระราชทาน 4 ประการ ได้แก่ 1) ลดขั้นตอน หมายถึง ให้กระจายอำนาจ 2) ปิดทองหลังพระ 3) เร็วๆ เข้า 4) ช่วยเขาช่วยตัวเอง มูลนิธิโครงการหลวงได้กำหนดเป้าหมายของการพัฒนาชุมชนโครงการหลวง โดยมุ่งหวังให้ชุมชนโครงการหลวงเติบโตอย่างมีคุณภาพและอยู่ร่วมกับสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน สังคมโครงการหลวงเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สามารถพึ่งพาตนเอง ลดความเหลื่อมล้ำ และสิ่งแวดล้อมได้รับการฟื้นฟูและอย่างยั่งยืน ด้วยการมีส่วนร่วมของชุมชนและทุกภาคส่วน การดำเนินงานศูนย์พัฒนาโครงการหลวงต่าง ๆ เป็นการดำเนินงานแบบบูรณาการ ร่วมมือกับส่วนราชการ ภาคเอกชน และเกษตรกรเป้าหมาย เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2559 คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติแผนแม่บทศูนย์พัฒนาโครงการหลวง ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งเป็นแผนปฏิบัติงานเชิงบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการสนับสนุนงานของมูลนิธิโครงการหลวง ให้เกิดความยั่งยืนตามแนวพระราชดำริพระราชทานข้างต้น รวมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ของการพัฒนาพื้นที่สูง สำหรับเกษตรกร นักศึกษา และผู้สนใจต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ รวมทั้งยังได้จัดทำแผนยุทธศาสตร์ของมูลนิธิเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติงานตามพระราชปณิธานและสนองตามพระราชประสงค์ และสอดคล้องไปกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี