ที่ว่าการอำเภอฝาง
  • ถนนทางหลวง เชียงใหม่–แม่จัน [107] (โชตนา) ตำบลเวียง  อำเภอ ฝาง เชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50110
  • 053-451-155
    • จันทร์-ศุกร์ 08:30-16:30
  • http://www.oic.go.th/infocenter31/3155/...
  • ที่ว่าการอำเภอฝาง
    ที่ว่าการอำเภอฝาง
  • #ทำบัตรประชาชน #แจ้งย้ายออก #ทะเบียนบ้าน #ขอเลขที่บ้าน #ทะเบียนราษฎร #แจ้งเกิด #แจ้งตาย
  • ตำแหน่งจีพีเอส : 19.9188694, 99.2133220   (เปิดแผนที่บน Google Map) | เปิดพิกัดปัจจุบัน
  • ข้อมูลเพิ่มเติม
    คำขวัญอำเภอฝาง

    “ เมืองพระเจ้าฝาง ดอยอ่างขางสูงซ้อน น้ำพุร้อน-เย็นลือเลื่อง เมืองเกษตรกรรม แหล่งวัฒนธรรมล้านนา ล้ำเลอค่าน้ำมันดิบ


    ฝาง เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ประชากรมีทั้งชาวไทยพื้นราบและชาวไทยภูเขา อำเภอฝางเป็นอำเภอศูนย์กลางความเจริญในเขตเชียงใหม่ตอนบน มีอำเภอบริวารคือ อำเภอแม่อายและอำเภอไชยปราการ มีประชากรมากที่สุดเป็นอันดับสามของจังหวัดเชียงใหม่ รองจากอำเภอเมืองเชียงใหม่และอำเภอสันทราย มีทั้งประชากรจริงและประชากรแฝง อีกทั้งยังสามารถเดินทางไปจังหวัดเชียงรายได้อย่างสะดวกหลายช่องทาง ทำให้อำเภอฝางจะได้รับความเจริญจากจังหวัดเชียงรายจากแผนพัฒนาเศรษฐกิจชายแดนจีนตอนใต้-อินโดจีนในอนาคต

    ที่มา อำเภอฝาง Wiki

    อัตราค่าธรรมเนียมและค่าปรับ การทําบัตรประจําตัวประชาชน

    1. บัตรหาย 100 บาท
    2. บัตรชํารุด 100 บาท
    3. บัตรถูกทําลาย 100 บาท 100 บาท
    4. เปลี่ยน / แก้ไข ชื่อตัวชื่อสกุล / เปลี่ยนที่อยู่
    5. ทําบัตรเกินกําหนด ปรับไม่เกิน 100 บาท

    การแจ้งการเกิด (คนไม่มีสัญชาติไทย)

    1. กรณีแรงงานต่างด้าว ๓ สัญชาติ หลักฐานที่ต้องนํามาแสดง
    2. หนังสือเดินทาง พร้อมคําแปลเป็นภาษาไทยของบิดาและมารดา
    3. แบบ ท.ร.๓๘/๑
    4. สําเนาทะเบียนบ้าน (ถ้ามี)
    5. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล

    *หลักฐานใช้ทั้งฉบับจริง และ ถ่ายสําเนา ๑ ชุด

    การแจ้งการย้ายออก
    1. ผู้มีหน้าที่แจ้งคือ เจ้าบ้านหรือผู้ที่จะย้ายออก
    2. หลักฐานที่ต้องนํามาแสดง
      • บัตรฯ ของเจ้าบ้านและผู้ย้ายออก
      • สําเนาทะเบียนบ้านฉบับที่จะย้ายออก
      • สูติบัตร(กรณีบิดา-มารดา แจ้งให้บุตรผู้เยาว์ )

    การแจ้งย้ายเข้า (ย้ายปกติ-ย้ายปลายทาง)

    1. ผู้มีหน้าที่แจ้งคือ เจ้าบ้านและผู้ที่จะย้ายเข้า
    2. หลักฐานที่ต้องนํามาแสดง
      • บัตรฯของผู้ที่จะย้ายเข้าและของเจ้าบ้านที่จะย้ายเข้า
      • สําเนาทะเบียนบ้านฉบับที่จะย้ายเข้า
      • ใบแจ้งการย้ายที่อยู่(ย้ายเข้าปกติ)
      • สําเนาทะเบียนบ้านเดิม ของผู้ที่จะย้ายเข้า (ย้ายปลายทาง)
      • สูติบัตร (กรณีบิดา-มารดา แจ้งให้บุตรผู้เยาว์)

    *หลักฐานใช้ทั้งฉบับจริง และ ถ่ายสําเนา ๑ ชุด

    การแจ้งการเกิด (คนไทย)

    1. ผู้มีหน้าที่แจ้ง คือ เจ้าบ้าน หรือ บิดา-มารดา
    2. หลักฐานที่ต้องนํามาแสดง
      • หลักฐานใช้ทั้งฉบับจริง และ ถ่ายสําเนา ๑ ชุด
      • บัตรประจําตัวผู้แจ้ง
      • บัตรประจําตัว บิดาและมารดา
      • สําเนาทะเบียนบ้าน
      • หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล
      • ทะเบียนสมรส หรือ
      • หนังสือยินยอมให้ใช้ชื่อสกุล จากมารดา

    กรณีบุคคลบนพื้นที่สูง หลักฐานที่ต้องนํามาแสดง

    1. บัตร และสําเนาทะเบียนบ้านของผู้แจ้ง
    2. บัตร และสําเนาทะเบียนบ้าน ของบิดา และมารดา
    3. ทะเบียนประวัติของบิดาและมารดา
    4. หนังสือรับรองการเกิดจากโรงพยาบาล


    ประวัติอำเภอฝาง


    เดิมอำเภอฝางเป็นที่ตั้งของเมืองฝาง ซึ่งเป็นเมืองหลวงในอดีต มีอายุนับพันปีในตำนานโยนกกล่าวไว้ว่า เมืองฝาง ถูกสร้างขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 1184 โดยเจ้าลวจังกราช เป็นหัวเมืองทางตอนเหนือของอาณาจักรล้านนา พญามังรายหรือพ่อขุนเม็งรายมหาราชทรงเคยเสด็จมาปกครองเมืองฝางและประทับอยู่ที่เมืองนี้(ก่อนหน้านั้นเมืองฝางอาจจะเป็นเมืองร้างหรือถูกพญามังรายเข้ายืดจากเจ้าเมืององค์ก่อนหรือไม่ยังไม่ทราบแน่ชัด) พระองค์ทรงเตรียมกำลังพลก่อนที่จะยกทัพไปตีเมืองหริภุญชัย สร้างเวียงกุมกาม และสร้างเมืองนพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 1839 เรียกสั้นๆ ว่า นครเชียงใหม่ต่อไป ดังนั้นเมืองฝางจึงเป็นเมืองโบราณที่มีอายุนับพันปี ปัจจุบันยังปรากฏหลักฐานทางประวัติศาสตร์คือ กำแพงเมืองและคูเมืองแบบเดียวกับในเมืองเชียงใหม่ [8]


    อำเภอฝางเคยเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดเชียงราย แต่ถูกโอนมาสังกัดจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2468 ด้วยเหตุผลเรื่องการคมนาคมและการติดต่อราชการ อำเภอฝางได้มีการสร้างที่ว่าการอำเภอฝางขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2488 และปัจจุบันได้มีการสร้างอาคารที่ว่าการอำเภอฝางขึ้นใหม่ เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม 2540 โดยยังคงเก็บรักษาอาคารที่ว่าการอำเภอฝาง หลังเก่าไว้ให้คนรุ่นหลังได้ชื่นชมอันเนื่องมาจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จเยี่ยมราษฎร ณ อาคารแห่งนี้เมื่อปีพุทธศักราช 2501 ต่อมาได้มีการแยกกิ่งอำเภอออกคือ กิ่งอำเภอแม่อายในปีพ.ศ. 2510 ก่อนที่ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอแม่อายในปีพ.ศ. 2516 ต่อมาได้แยกกิ่งอำเภออีกคือกิ่งอำเภอไชยปราการในปีพ.ศ. 2531 และได้ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอไชยปราการในปีพ.ศ. 2537

    ที่มา ประวัติกรม ประวัติอำเภอ - สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอฝาง (cdd.go.th)



กิจกรรม