โรงเรียน ช่องฟ้าซินเซิงวาณิชบำรุง


ลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง นอกเหนือจากการจัดตั้งโรงเรียนชิงหัวแล้ว ยังมีนักธุรกิจชาวจีนในเชียงใหม่อีกกลุ่มหนึ่ง ( ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดใหม่ และไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนฮั่วเอง – ฮั่วเคี้ยว ที่ได้ก่อตั้งโรงเรียนชิงหัวมาก่อน)ได้ร่วมกันจัดตั้งชมรมร่วมด้วยช่วยกัน(หู่จ่อเสีย) ภายใต้การดำเนินการของ นายซิ่วไถ่ แซ่กัง นายหลักยู้ แซ่ลิ้ม (นายรัก นิมากร) นายหุ่งเจียว แซ่จิว (นายบรรเจิด สู่พานิช) นายตักซำ แซ่ลิ้ม นายเสี่ยวเสีย แซ่กิม นายขิ่มโพ้ว แซ่โค้ว นายบักซ้ง แซ่ลี้ นายหยิ่มพ้ง แซ่ตั้ง มีวัตถุประสงค์ใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์ยามว่างจากธุรกิจ แต่ในเวลานั้น ลูกหลานชาวจีนจำนวนมากต้องการที่จะศึกษาเรียนรู้ภาษาจีน จึงเป็นเหตุให้กลุ่มบุคคลดังกล่าว ได้ริเริ่มทดลองเปิดสอนภาษาจีนขึ้น ภายใต้การสอนของครูจีน ชื่อ นายอิวกวง แซ่โล้ว การสอนภาษาจีนของชมรมแห่งนี้ ได้รับการตอบสนองจากสังคมชาวจีนในเชียงใหม่เป็นอย่างดี จึงทำให้จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว


ในที่สุดกลุ่มผู้ก่อตั้งชมรมฯ จึงได้ประชุม และได้ตกลงมอบหมายให้นายหุ่งเจียว แซ่จิว เป็นผู้ยื่นขออนุญาตเปิดโรงเรียนจีนขึ้นอีกแห่งหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนซินเซิง และได้รับอนุญาตเป็นทางการ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2491


Image6


ในระยะเริ่มแรกของการดำเนินงานโรงเรียนซินเซิงนั้น เนื่องจากได้แปรสภาพจากชมรมฯ มาเป็นโรงเรียน จึงทำให้ภาวะเศรษฐกิจของโรงเรียน ยังไม่พร้อม และอยู่ในสภาพขัดสนเป็นอย่างยิ่ง โรงเรียนจึงต้องเผชิญกับปัญหามากมาย อาคารที่ใช้สอนก็เป็นอาคารไม้ไผ่กั้นด้วยฟาก หลังคามุงด้วยใบตอง เก้าอี้เรียนก็ใช้ลังไม้ แต่ด้วยความบากบั่น และเสียสละอย่างใหญ่หลวงของผู้บริหาร ตลอดจนครูผู้สอน จึงทำให้โรงเรียนซินเซิงได้รับการสนับสนุนทั้งกำลังใจ กำลังทรัพย์ จากชาวจีนในเชียงใหม่ จนกระทั่งทำให้โรงเรียนซินเซิง อันเป็นโรงเรียนจีนอีกแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ยืนหยัดอยู่ได้

การดำเนินการบริหารโรงเรียนซินเซิงแห่งนี้ หลังจากการจัดตั้งเป็นโรงเรียนให้ถูกต้อง ก็ได้มีการฟอร์มตัวผู้บริหารขึ้น นอกเหนือไปจากผู้ที่จัดตั้งชมรมแล้ว ประธาน รองประธาน และคณะกรรมการบริหารชุดแรก ได้แก่ นายเอี้ยวโม้ว แซ่ฉั่ว (นายอมร ชวชาติ) และนายเป็กสิ่ว แซ่ลิ้ม (นายพู่เทียม ลินพิศาล) คณะกรรมการบริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ได้ดำเนินการบริหารโรงเรียนสำเร็จเป็นอย่างดี จึงได้รับการบริจาคทางด้านทุนทรัพย์ จนกระทั่งสามารถรวบรวมสร้างอาคารไม้ 2 ชั้นขึ้น เพื่อรองรับนักเรียนได้อย่างน่าภาคภูมิใจ

การเปิด โรงเรียนช่องฟ้า

You Are Here :Home »เกี่ยวกับโรงเรียน »ประวัติโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนadmin       01/20/2015 ประวัติโรงเรียน2015-07-10T14:30:27+07:00    No Comment

school


ประวัติโรงเรียน


 


ความเจริญทางวัฒนธรรม คือ สิ่งชี้ให้เห็นถึงความรุ่งเรืองของประเทศชาตินั้น ๆ ความสงบร่มเย็น และความมีระเบียบวินัยภายในประเทศ ก็ย่อมขึ้นอยู่กับการศึกษาของประชาชน แต่การผลิตปัญญาชนจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องอาศัยสถาบันการศึกษาเป็นที่ถ่ายทอดให้กับบุคคล


 


จุดเริ่มต้นการศึกษาภาษาจีนในเชียงใหม่


กล่าวกันว่า การศึกษาภาษาจีนในเมืองเชียงใหม่ เกิดขึ้นตั้งแต่ ปี 2444 ในระยะแรกเป็นการจัดการศึกษาแบบไม่มีโรงเรียน ที่รัฐบาลสมัยรัชกาลที่ 5 เรียกว่า โรงเรียนวิเศษเชลยศักดิ์ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 เรียกว่า โรงเรียนบุคคล ที่เปิดสอนตามบ้านหรือสถานที่ของครูผู้สอน นักเรียนในสมัยนั้นเรียกกันว่า โรงเรียนครู… (ระบุชื่อของครูผู้สอน)


 


โรงเรียนจีนเชียงใหม่ ยุคก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2


Image2 Image4 Image5


การตั้ง โรงเรียนฮั่วเอง


ในปี 2460 มีการจัดตั้งโรงเรียนจีน เป็นรูปแบบมีโรงเรียนเต็มตัวครั้งแรก ชื่อ “โรงเรียนฮั่วเอง” เมื่อมีนักธุรกิจการค้าชั้นนำชาวจีนแต้จิ๋วจากกรุงเทพฯ ผู้หนึ่ง ชื่อ นายตี่หย่ง แซ่แต้ (หรือ ฮง ต้นตระกูล เตชะวณิช ) ได้เดินทางมาเชียงใหม่ และพบว่า ในเมืองเชียงใหม่ขณะนั้นมีชาวจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ต่างประกอบธุรกิจกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน แต่กลับไม่มีโรงเรียนจีนตั้งขึ้นเลย จึงมีความตั้งใจที่จะบริจาคทุนทรัพย์เพื่อจัดตั้งโรงเรียนจีนขึ้นเป็นแห่งแรกในเมืองเชียงใหม่


นายตี่หย่ง แซ่แต้ จึงได้นำความคิดนี้ไปปรึกษากับ นายสุ่นฮี้ แซ่ฉั่ว (หลวงอนุสารสุนทร ต้นตระกูล ชุติมา) นายเอียวฮก แซ่เอง ( ต้นตระกูล ศักดาทร บริษัทนิยมพานิช จำกัด ) นายอุ่ย แซ่เหลี่ยว ( เจ้าของห้างเหลี่ยวหย่งง้วน ) ผู้ซึ่งเป็นนักธุรกิจชั้นนำในเชียงใหม่ เมื่อตกลงเห็นชอบกันทุกฝ่ายแล้ว นายตี่หย่ง แซ่แต้ จึงได้บริจาคเงินซื้อที่ดินแปลงหนึ่ง บนถนนเจริญราษฎร์ บริเวณใกล้วัดเกต เพื่อใช้เป็นที่ตั้งโรงเรียนจีนแห่งแรกในเมืองเชียงใหม่ พร้อมกับตั้งชื่อโรงเรียนแห่งนี้ว่าโรงเรียนฮั่วเอง โดยใช้ภาษาจีนแต้จิ๋ว จึงเป็นการวางรากฐานของสถาบันการศึกษาภาษา และวัฒนธรรมจีน เป็นแห่งแรกในเมืองเชียงใหม่


หลังจากที่โรงเรียนฮั่วเองเปิดสอนได้ไม่นาน ปรากฏว่า มีจำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนกระทั่งสถานที่แห่งแรกคับแคบเกินไปไม่เพียงพอกับความต้องการ นายสุ่นฮี้ แซ่ฉั่ว จึงได้นำปัญหานี้มาปรึกษากัน และได้เจรจากับนักธุรกิจ ชื่อ นายแป๊ะป๊อ จนนายแป๊ะป๊อมีจิตศรัทธา บริจาคที่ดินแปลงหนึ่ง บนถนนช้างคลาน เพื่อเป็นที่ตั้งโรงเรียนฮั่วเอง แห่งใหม่ ( ปัจจุบันคือที่ตั้ง อาคารไนท์บาร์ซ่า )


เมื่อได้รับบริจาคที่ดินแล้ว นายสุ่นฮี้ แซ่ฉั่ว และเพื่อนนักธุรกิจ คือ นายเอียวฮก แซ่เอง นายอุ่ย แซ่เหลี่ยว จึงได้รวบรวมทุนทรัพย์จากชาวจีน สร้างโรงเรียนฮั่วเองบนที่ดินใหม่ เพื่อรับนักเรียนทั้งหมดที่ย้ายมาจากที่เดิม ทำให้มีโรงเรียนจีนตั้งขึ้นอย่างเป็นที่น่าภาคภูมิใจบนฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง


หลังจากได้ทำการสอนไปช่วงหนึ่งแล้ว กรรมการบริหารโรงเรียน ได้แยกโรงเรียนจีนแผนกนักเรียนหญิงออกมา และเปิดเป็นโรงเรียนฮั่วเองแผนกนักเรียนหญิงขึ้นที่อาคารหลังหนึ่ง ถนนเจริญประเทศ ( ปัจจุบันคือที่ตั้ง โรงแรมเพชรงาม ) แต่เกิดความไม่สะดวกในการบริหาร จึงจำต้องยุบโรงเรียนฮั่วเอง แผนกนักเรียนหญิง กลับไปรวมกับโรงเรียนฮั่วเอง ที่ถนนช้างคลาน เหมือนเดิม


 


การตั้ง โรงเรียนฮั่วเคี้ยว


ในปี 2470 ชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเชียงใหม่มีจำนวนมากขึ้น และใช้ภาษาที่แตกต่างกัน มีทั้งจีนแคะ จีนไหหลำ จีนกวางตุ้ง จีนยูนาน ฯลฯ จึงมีการหารือกันในเรื่องนี้ และมีข้อยุติ ให้ร่วมกันจัดตั้งโรงเรียนจีนขึ้นอีกแห่งหนึ่งที่สอนด้วยภาษาจีนกลาง ที่ถนนลอยเคราะห์ (ปัจจุบันคือที่ตั้ง มูลนิธิเชียงใหม่สามัคคีการกุศล) และตั้งชื่อว่า โรงเรียนฮั่วเคี้ยว โดยมี นายง่วนชุน แซ่ตั้ง (ต้นตระกูลตันตรานนท์) เป็นผู้รับใบอนุญาต และประธานบริหารคนแรก


นับแต่นั้น โรงเรียนจีนเชียงใหม่ สามารถรับบุตรหลานชาวจีนได้อย่างทั่วถึง คณะผู้บริหารโรงเรียนจีนทั้งสองแห่ง ได้ร่วมกันบริหารโรงเรียนทั้งสองอย่างต่อเนื่อง โดยมีการหมุนเวียนบุคคลมารับหน้าที่บริหาร ตามหลักฐานที่มีอยู่ขณะนี้ พบข้อมูลว่า


ปี 2469-2473 ขุนอนุกรบุรี (นายเย็น แซ่นิ้ม เจ้าของ ห้างนิ้มเชียงฮวด ต้นตระกูล นิมากร) เป็นผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการโรงเรียนฮั่วเอง และ นายบุนนาค ฉิมพลีย์ เป็นครูใหญ่


ปี 2474-2475 นายง่วนชุน แซ่ตั้ง ( ผู้ก่อตั้ง และผู้รับใบอนุญาตโรงเรียนฮั่วเคี้ยว คนแรกเมื่อปี 2470 ) เป็นผู้รับใบอนุญาต และผู้จัดการโรงเรียนฮั่วเอง ต่อจาก ขุนอนุกรบุรี


ปี 2480 นายอิวสือ แซ่โต๋ว ( นายสงบ แซ่โต๋ว เจ้าของ ห้างโต๋วหยิ่นเซ้ง ) เป็นประธานโรงเรียนฮั่วเอง คนต่อมา ภายหลังมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองในประเทศไทย เมื่อปี 2475 นโยบายทางด้านการศึกษาของรัฐบาลไทยมีการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน คือ มีการเคร่งครัดกวดขันโรงเรียนจีน มีการจำกัดชั่วโมงการสอนภาษาจีนในโรงเรียนจีนเหลือเพียง วันละ 2 ชั่วโมง


ต่อมาในช่วง ปี 2480-2484 โรงเรียนจีนทั่วประเทศ เริ่มขอเลิกกิจการบางส่วน ที่เหลือซึ่งเป็นส่วนใหญ่ถูกรัฐบาลสั่งปิด เพิกถอนใบอนุญาตโรงเรียนจีนทั่วประเทศ เป็นเหตุให้โรงเรียนจีนทั้งสองในเมืองเชียงใหม่ถูกปิดไปด้วย ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 จะเกิดขึ้น


 


โรงเรียนจีนเชียงใหม่ ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติ

จนกระทั่ง ปี 2488 ญี่ปุ่นยอมจำนนต่อสัมพันธมิตร ทำให้เกิดความสงบขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ธุรกิจต่าง ๆ กลับเข้าสู่สภาพเดิม กลุ่มอดีตผู้นำโรงเรียนฮั่วเอง และฮั่วเคี้ยว คือ นายง่วนชุน แซ่ตั้ง นายอิวสือ แซ่โต๋ว นายอ่างยู้ แซ่ตั้ง นายเป็กสิ่ว แซ่ลิ้ม ( นายพู่เทียม ลินพิศาล ) นายเหลี่ยงกือ แซ่เหลี่ยว นายฮึงฮุย แซ่ฉั่ว นายเอี๊ยะชำ แซ่พัว ( เจ้าของห้างพัวไถ่กี่ ) นายเชียวท้าง แซ่โอ้ว (นายชู โอสถาพันธุ์) นายก๊กอุ่ย แซ่ตั้ง ได้ปรึกษาหารือกันจนได้จัดตั้งโรงเรียนจีนขึ้นใหม่ เมื่อปลายปี 2488 โดยใช้ชื่อเดิมว่า โรงเรียนสหศึกษา ฮั่วเอง – ฮั่วเคี้ยว มาช่วงหนึ่งก่อนได้รับใบอนุญาตตั้งโรงเรียนจากทางการในเวลาต่อมา

การเปิด โรงเรียนชิงหัว

ในปี 2491 ได้รับใบอนุญาตจากทางราชการให้จัดตั้งโรงเรียนโดยใช้ชื่อ โรงเรียนชิงหัว ฉะนั้นลูกหลานชาวจีนในเชียงใหม่ จึงมีโอกาสศึกษาภาษาจีนอีกครั้งหนึ่ง ถึงกระนั้นก็ตาม ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ที่น่าเสียดายเป็นอย่างยิ่ง ที่การบริหารโรงเรียนเป็นไปได้ช่วงเวลาหนึ่ง ก็ถูกเพิกถอนใบอนุญาตในปีเดียวกัน เพราะทำผิดระเบียบการเรี่ยไรของทางราชการ เป็นผลให้กรรมการบริหารโรงเรียนจำนวน 4 คน ซึ่งมีจิตใจสูงส่ง ที่ได้เสียสละกำลังกาย กำลังทรัพย์ และกำลังใจ ต้องพลอยได้รับโทษจากทางราชการอีกด้วย ผู้รับโทษ 4 คนนี้ คือ นายฮกเซี้ยง แซ่ตั้ง นายเฉี่ยงฮ้อ แซ่เหลี่ยว (บุตรของนายอุ่ย แซ่เหลี่ยว ) นายเทียนงัก แซ่แต้ นายเกี่ยงฮั้ว แซ่อึ้ง นับว่าบุคคลดังกล่าว ได้เสียสละทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อการศึกษาโดยแท้

การเปิด โรงเรียนซินเซิง

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง นอกเหนือจากการจัดตั้งโรงเรียนชิงหัวแล้ว ยังมีนักธุรกิจชาวจีนในเชียงใหม่อีกกลุ่มหนึ่ง ( ซึ่งเป็นกลุ่มที่เกิดใหม่ และไม่ได้เกี่ยวข้องกับกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนฮั่วเอง – ฮั่วเคี้ยว ที่ได้ก่อตั้งโรงเรียนชิงหัวมาก่อน)ได้ร่วมกันจัดตั้งชมรมร่วมด้วยช่วยกัน(หู่จ่อเสีย) ภายใต้การดำเนินการของ นายซิ่วไถ่ แซ่กัง นายหลักยู้ แซ่ลิ้ม (นายรัก นิมากร) นายหุ่งเจียว แซ่จิว (นายบรรเจิด สู่พานิช) นายตักซำ แซ่ลิ้ม นายเสี่ยวเสีย แซ่กิม นายขิ่มโพ้ว แซ่โค้ว นายบักซ้ง แซ่ลี้ นายหยิ่มพ้ง แซ่ตั้ง มีวัตถุประสงค์ใช้เป็นที่พบปะสังสรรค์ยามว่างจากธุรกิจ แต่ในเวลานั้น ลูกหลานชาวจีนจำนวนมากต้องการที่จะศึกษาเรียนรู้ภาษาจีน จึงเป็นเหตุให้กลุ่มบุคคลดังกล่าว ได้ริเริ่มทดลองเปิดสอนภาษาจีนขึ้น ภายใต้การสอนของครูจีน ชื่อ นายอิวกวง แซ่โล้ว การสอนภาษาจีนของชมรมแห่งนี้ ได้รับการตอบสนองจากสังคมชาวจีนในเชียงใหม่เป็นอย่างดี จึงทำให้จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ในที่สุดกลุ่มผู้ก่อตั้งชมรมฯ จึงได้ประชุม และได้ตกลงมอบหมายให้นายหุ่งเจียว แซ่จิว เป็นผู้ยื่นขออนุญาตเปิดโรงเรียนจีนขึ้นอีกแห่งหนึ่ง โดยใช้ชื่อว่า โรงเรียนซินเซิง และได้รับอนุญาตเป็นทางการ เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2491

ในระยะเริ่มแรกของการดำเนินงานโรงเรียนซินเซิงนั้น เนื่องจากได้แปรสภาพจากชมรมฯ มาเป็นโรงเรียน จึงทำให้ภาวะเศรษฐกิจของโรงเรียน ยังไม่พร้อม และอยู่ในสภาพขัดสนเป็นอย่างยิ่ง โรงเรียนจึงต้องเผชิญกับปัญหามากมาย อาคารที่ใช้สอนก็เป็นอาคารไม้ไผ่กั้นด้วยฟาก หลังคามุงด้วยใบตอง เก้าอี้เรียนก็ใช้ลังไม้ แต่ด้วยความบากบั่น และเสียสละอย่างใหญ่หลวงของผู้บริหาร ตลอดจนครูผู้สอน จึงทำให้โรงเรียนซินเซิงได้รับการสนับสนุนทั้งกำลังใจ กำลังทรัพย์ จากชาวจีนในเชียงใหม่ จนกระทั่งทำให้โรงเรียนซินเซิง อันเป็นโรงเรียนจีนอีกแห่งหนึ่งของเชียงใหม่ยืนหยัดอยู่ได้

การดำเนินการบริหารโรงเรียนซินเซิงแห่งนี้ หลังจากการจัดตั้งเป็นโรงเรียนให้ถูกต้อง ก็ได้มีการฟอร์มตัวผู้บริหารขึ้น นอกเหนือไปจากผู้ที่จัดตั้งชมรมแล้ว ประธาน รองประธาน และคณะกรรมการบริหารชุดแรก ได้แก่ นายเอี้ยวโม้ว แซ่ฉั่ว (นายอมร ชวชาติ) และนายเป็กสิ่ว แซ่ลิ้ม (นายพู่เทียม ลินพิศาล) คณะกรรมการบริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ได้ดำเนินการบริหารโรงเรียนสำเร็จเป็นอย่างดี จึงได้รับการบริจาคทางด้านทุนทรัพย์ จนกระทั่งสามารถรวบรวมสร้างอาคารไม้ 2 ชั้นขึ้น เพื่อรองรับนักเรียนได้อย่างน่าภาคภูมิใจ


การเปิด โรงเรียนช่องฟ้า

ในปี 2492 หลังจากที่โรงเรียนชิงหัวถูกปิดให้หลัง 1 ปี นายเป็กสิ่ว แซ่ลิ้ม (นายพู่เทียม ลินพิศาล) เป็นผู้ยื่นขออนุญาตตั้งโรงเรียนจากกระทรวงศึกษาธิการ จนได้รับใบอนุญาตจัดตั้ง โรงเรียนช่องฟ้า จากทางการ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2492 โรงเรียนช่องฟ้า เมื่อได้รับอนุญาตครั้งแรกนั้น ตั้งอยู่ที่ถนนลอยเคราะห์ ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนฮั่วเคี้ยวเดิม และได้ย้ายมาอยู่ที่โรงเรียนฮั่วเอง ถนนช้างคลาน ในเวลาต่อมา นับตั้งแต่บัดนั้น โรงเรียนจีนที่เกิดขึ้นในเชียงใหม่ จึงมีอยู่สองโรงเรียน คือ โรงเรียนซินเซิง และโรงเรียนช่องฟ้า


ปี 2493 – 2500 มีการเปลี่ยนแปลงผู้รับใบอนุญาตของทั้งสองโรงเรียน คือ ที่โรงเรียนช่องฟ้า ในปี 2493 นายเป็กสิ่ว แซ่ลิ้ม ได้ส่งมอบหน้าที่ต่อให้ นายเปล่ง เลาหะเพ็ญแสง (นายเปงเล้ง แซ่เล้า) และนายพวน ตนานนท์ ตามลำดับ ต่อมา ในปี 2500 นายริ้ว แซ่เอง (นายริ้ว ศักดาทร) เข้ารับหน้าที่ต่อจาก นายพวน ตนานนท์

ที่โรงเรียนซินเซิง ในปี 2493 นายหุ่งเจียว แซ่จิว ส่งมอบหน้าที่ให้ นายหลักยู้ แซ่ลิ้ม (นายรักษ์ นิมากร) รับหน้าที่ต่อ และในปี 2497 นายสิริ ภู่ประเสริฐ รับหน้าที่ต่ออีกครั้ง

การตั้งโรงเรียนจีนในอดีตดังกล่าวมา มีลักษณะพิเศษประการหนึ่ง ที่แตกต่างจากโรงเรียนทั่ว ๆ ไป คือ นอกจากมีที่ตั้งโรงเรียนจีนแต่ละแห่งแล้ว ยังมีสถานที่อีกแห่งหนึ่งซึ่งไม่ได้อยู่ในพื้นที่ของโรงเรียนจีน ไม่ได้ใช้ในกิจการของโรงเรียนจีน แต่ใช้เป็นสถานที่สำหรับพบปะดื่มน้ำชาอ่านหนังสือพิมพ์ ของผู้สนับสนุน และกรรมการโรงเรียนจีน( ลักษณะคล้าย ๆ สโมสร หรือ ชมรม ไม่เต็มรูปแบบ คือไม่มีกิจกรรมอื่น ๆ ใด นอกจากเป็นสถานที่พบปะดื่มน้ำชาหารือกันยามว่าง ) ในที่นี้ขอเรียกว่า “สำนักพ่อค้าจีน” ซึ่งในอดีตมีอยู่ 3 แห่ง คือ

กรณีของโรงเรียนฮั่วเอง เรียกว่า “ ฮั่วเคี้ยวจือเป้าเสีย ( 华侨书报社 ) ” มีที่ตั้ง ย่านถนนเจริญเมือง บริเวณพื้นที่ส่วนหนึ่งในที่ตั้ง บริษัท ไม้อบทวีพรรณ จำกัด ในปัจจุบัน

กรณีของโรงเรียนฮั่วเคี้ยว เรียกว่า “ กังเซียงจือเป้าเสีย ( 工商书报社 ) ” มีที่ตั้ง ย่านถนนท่าแพ บริเวณย่าน ห้างเหลี่ยวหย่งง้วน ในอดีต และเคยเป็นที่ตั้งของร้านเข็มทิศ

กรณีของโรงเรียนซินเซิงต่างจากของ 2 โรงเรียนข้างต้น คือ มีการตั้ง “ หู่เจ้อเสีย ( 互助社 ) ” เป็นชมรมร่วมด้วยช่วยกัน สถานที่พบปะกันยามว่างจากธุรกิจการค้า ในเวลาต่อมาจึงได้พัฒนาเป็นโรงเรียนซินเซิง ดังได้กล่าวแล้ว

อ่านเพิ่มเติม chongfah.ac.th

เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่