เทศบาลตำบลแม่ริม


เมืองแม่ริมในอดีตนั้นมีฐานะเป็นสุขาภิบาล รู้จักกันในชื่อของ "สุขาภิบาลแม่ริม" จัดตั้งตามประกาศ กระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2499 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษหน้า 37 เล่มที่ 74 ตอน 4 เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2500 ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีคณะกรรมการบริหารสุขาภิบาล หลายชุดเข้ามาพัฒนาเมืองแม่ริมโดยมีประธานกรรมการสุขาภิบาลที่มาจากการเลือกตั้งทางอ้อมและผู้ที่เข้ามาดำรงตำแหน่งคนแรกคือ นายจุฬาสังข์ชีพรุ่งเรือง ระหว่าง พ.ศ. 2539 - พ.ศ. 2542 รูปแบบในการบริหารสุขาภิบาลแบบใหม่ภายใต้การนำของนายจุฬาสังข์ชีพรุ่งเรือง ประธานกรรมการสุขาภิบาล ได้เน้นการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน ทางระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าสาธารณะ และการรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการพัฒนาไปสู่รูปแบบเทศบาลในอันดับต่อไป
 
หลังจากมีการเปลี่ยนแปลงระบบการเลือกประธานกรรมการสุขาภิบาลแล้ว ในปี พ.ศ.2542สุขาภิบาลแม่ริมได้เปลี่ยนแปลง ฐานะ เป็นเทศบาลตำบลแม่ริมตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 ตามประกาศใน ราชกิจจานุเบกษาเล่ม 116 ตอนที่ 9ก เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2542 ซึ่งมีข้อบังคับให้"สุขาภิบาลแม่ริม" เป็น "เทศบาลตำบลแม่ริม" ในวันที 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 เป็นต้นมา ปัจจุบันสำนักงานเทศบาลตำบลแม่ริมตั้งอยู่เลขที่ 333 หมู่ 8 ตำบลริมใต้ อำเภอ แม่ริม จ้งหวัดเชียงใหม่ ห่างจากศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 10 กิโลเมตร
 
เขตการปกครอง

พื้นที่ มีเนื้อที่ประมาณ 10.25 ตารางกิโลเมตร ทิศเหนือจรดตำบลริมเหนือ ทิศใต้จรดตำบลแม่สา ทิศตะวันออกจรดตำบลเหมืองแก้ว ทิศตะวันตกจรดตำบลแม่แรม ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมดของตำบลริมใต้และพื้นที่บางส่วนตำบลแม่สา

ประชากร มีประขากรรวมทั้งสิน 9,889 คน แยกเป็นชาย 4,622 คน หญิง 5,213 คน จำนวนครัวเรือน 5,213 ครอบครัว (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน 2555) ความหนาแน่นของประชากรโดยเฉลี่ยเท่ากับ 965 คน : ตารางกิโลเมตรมีเขตการปกครองรวม 8 หมู่บ้าน และ หมู่ 1,2 ตำบลแม่สา(บางส่วน) ปัจจุบัน เทศบาล ฯ ได้มีการจัดตั้งชุมชนในเขตเทศบาลตามระเบียบเทศบาลตำบลแม่ริมว่าด้วยกรรมการชุมชน พ.ศ. 2543

ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ดอนมีแม่น้ำแม่ริมไหลผ่านทางทิศเหนือ มีแหล่งน้ำธรรมชาติจากน้ำตกแม่สาทางทิศตะวันตก และ แม่น้ำปิงไหลผ่านทางทิศตะวันออก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นอาคารที่พักอาศัยและสถานที่ราชการ มีทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข 107 ถนนโชตนา (เชียงใหม่-ฝาง) ผ่านตลอดตอนกลางของเทศบาลในแนวทิศเหนือ - ทิศใต้ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นอาคาร ที่พักอาศัย พื้นที่เกษตรกรรม และสถานที่ราชการ

ที่มา maerim.go.th

เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่