งานประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีล(เสาหลักเมืองเชียงใหม่) ประจำปี 2566

กิจกรรมนี้สิ้นสุดแล้ว
  • 16 พฤษภาคม 2566 - 23 พฤษภาคม 2566
  • วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร
  • ตำแหน่งจีพีเอส : 18.7869987, 98.9867422
  • นำทางโดย Google map

งานประเพณีใส่ขันดอกบูชาเสาอินทขีล(เสาหลักเมืองเชียงใหม่)

ประจำปี 2566 ตรงกับวันที่ 16-22 พฤษภาคม 2566 และวันที่ 

23 พฤษภาคม 2566  ทำบุญออกอินทขีล ณ วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร  เมืองเชียงใหม่  จังหวัดเชียงใหม่...

วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร  เมืองเชียงใหม่  จังหวัดเชียงใหม่  จึงขอเจริญพรเชิญชวนทุกท่าน ร่วมทำบุญเป็นเจ้าภาพเครื่องสักการะ

เป็นเจ้าภาพเครื่องบวงสรวง  เป็นเจ้าภาพวงปี่พาทย์ วงซอ  และ

ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพวัตถุไทยทานถวายพระสงฆ์จากวัดต่างๆ  

ที่ทางวัดเจดีย์หลวง วรวิหาร ได้อาราธนามาเจริญพระพุทธมนต์

เพื่ออบรมสมโภชเสาอินทขีล (เสาหลักเมืองเชียงใหม่) ในแต่ละ

วัน วันละ 9 รูป รวม 8 วัน ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพวัตถุไทยทาน

ชุดละ 5,000 บาท หรือตามแต่เจตนาศรัทธาของทุกท่าน


---------------------------------

พระพุทธรูปที่ประดิษฐานเป็นประธานอยู่บนมณฑปเสาอินทขีล (เสาหลักเมืองเชียงใหม่) ที่ในวิหารเสาอินทขีล วัดเจดีย์หลวง เมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พระนามว่า พระเจ้าอุ่มเมือง หรือเรียกว่า พระเจ้าแป๊ขึด อุ่มเมือง ภาษาล้านนา หมายถึง พระพุทธรูปที่ปกห่ม รักษาคุ้มครองบ้านเมือง อุ้มบ้านอุ้มเมืองให้เกิดความร่มเย็น เป็นสุข แป๊ ภาษาล้านนา หมายถึง ชัยชนะ ความสำเร็จ ความ สมหวัง ความสมปรารถนา (ชนะ สำเร็จ สมปรารถนา ทุกอย่าง) ขึด หมายถึง เสนียดจัญไรอัปมงคลที่อาจเกิดจากสาเหตุ ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติ หรือเกิดจากการ กระทำของมนุษย์เอง ขึดนั้นมีหลายประเภท เช่น ขึดเกี่ยวกับวัด ขึดเกี่ยวข้องกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำบ้านประจำเมือง ขึดเกี่ยวกับ สาธารณประโยชน์ ตลาด พื้นที่ทางการเกษตร ต้นไม้ สัตว์ ที่อยู่อาศัย เป็นต้น...

ตำนานความเป็นมาของ เสาอินทขีล (เสาหลักเมืองเชียงใหม่) บริเวณที่ตั้งเมืองเชียงใหม่ศูนย์กลางอาณาจักล้านนา เป็นที่ตั้ง บ้านเมืองของชาวลัวะ ในเมืองมีผีหลอกหลอน ทำให้ชาวเมือง เดือดร้อนไม่เป็นอันทำมาหากิน อดอยากยากจน พระอินทร์จึง ได้ประทานความช่วยเหลือบันดาลบ่อเงิน บ่อทอง และบ่อแก้ว ไว้ในเมือง เมื่อเศรษฐีลัวะ 9 ตระกูล แบ่งกันดูแลบ่อทั้งสามบ่อ บ่อละสามตระกูล โดยที่ชาวลัวะต้องถือศีล รักษาคำสัตย์ เมื่อ ชาวลัวะอธิษฐานสิ่งใดก็จะได้สมดังปรารถนา ชาวลัวะก็ปฎิบัติ ตามเป็นอย่างดี บรรดาชาวลัวะทั้งหลายต่างก็มีความสุขความ อุดมสมบูรณ์... ข่าวความสุขความอุดมสมบูรณ์ของเวียงนพบุรี ซึ่งเป็นตระกูล ของชาวลัวะเลื่องลือไปไกล และได้ชักนำให้เมืองอื่นยกทัพมา ขอแบ่งปัน ชาวเมืองลัวะตกใจจึงขอให้ฤๅษีนำความไปกราบ ทูลพระอินทร์ พระอินทร์จึงให้กุมภัณฑ์ หรือยักษ์สองตน ชื่อว่า พญายักขราช พญาอมรเทพ ขุดอินทขีลหรือเสาตะปูพระอินทร์ ใส่สาแหรกเหล็กหาบไปฝังไว้กลางเวียงนพบุรี เสาอินทขีลนั้น มีฤทธิ์มากดลบันดาลให้ข้าศึกที่มากลายร่างเป็นพ่อค้า พ่อค้า เหล่านั้นต่างตั้งใจมาขอสมบัติจากบ่อทั้งสาม ชาวลัวะแนะนำ ให้พ่อค้าถือศีลและรักษาคำสัตย์และอย่าละโมบ เมื่อขอสิ่งใด ก็จะได้ พ่อค้าบางคนทำตาม บางคนไม่ทำตาม บางคนละโมบ ทำให้กุมภัณฑ์สองตนที่เฝ้าเสาอินทขีลโกรธ จึงพากันหามเสา อินทขีล กลับขึ้นสวรรค์ไป บ่อเงิน บ่อทอง บ่อแก้ว ก็เสื่อมลง... ชาวลัวะผู้เฒ่าคนหนึ่งไปบูชาเสาอินทขีลอยู่เสมอ ทราบว่ายักษ์ ทั้งสองได้นำเสาอินทขีลกลับขึ้นสวรรค์ไปแล้ว ก็เสียใจมาก จึง ถือบวชนุ่งขาวห่มขาวบำเพ็ญศีลภาวณาอยู่ใต้ต้นยางเป็นเวลา นานถึงสามปี ก็มีพระเถระรูปหนึ่งทำนายว่า ต่อไปบ้านเมืองจะ ถึงกาลวิบัติ ชาวลัวะเกิดความกลัวจึงขอร้องให้พระเถระรูปนั้น ช่วยเหลือ พระเถระได้บอกให้ลัวะ 4 ฝ่าย คือ พระภิกษุ ฤๅษี ผี และประชาชน ร่วมกันหล่ออ่างขางหรือกระทะขนาดใหญ่ แล้ว ใส่รูปปั้นต่างๆ อย่างละ 1 คู่ ช้าง ม้า เป็นต้น ให้ปั้นรูปคนชาย หญิงให้ครบร้อยเอ็ดภาษาใส่กระทะใหญ่ลงฝังในหลุม แล้วทำ เสาอินทขีลไว้เบื้องบนทำพิธีสักการบูชา จะทำให้บ้านเมืองพ้น ภัยพิบัติ การทำพิธีบวงสรวงสักการบูชาจึงกลายเป็นประเพณี สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ คือประเพณีบูชาเสาอินทขีล (ไหว้ เสาหลักเมืองเชียงใหม่) ประเพณีใส่ขันดอก... ประมาณปีพุทธศักราช 2343 พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนคร เชียงใหม่ ในสมัยนั้น ได้ร่วมมือกับกองทัพของพระเจ้าตากสิน มหาราช ขับไล่พม่าออกจากดินแดนล้านนาได้สำเร็จ หลังจาก นั้นก็ได้มีการฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่ขึ้นมา และได้ย้ายเสาอินทขีล มาประดิษฐานไว้ที่ วิหารเสาอินทขีล (เสาหลักเมืองเชียงใหม่) วัดเจดีย์หลวง วรวิหาร เมืองเชียงใหม่ มาจนถึงปัจจุบันนับอายุ ได้ 222 ปี พร้อมทรงปลูกต้นไม้หมายเมืองไว้คู่กับเสาอินทขีล (เสาหลักเมืองเชียงใหม่) คือต้นยางนา ด้วย...

ต่อมาในสมัย พระเจ้ากาวิละ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ได้ให้สร้างรูปปั้นกุมภัณฑ์และรูปพระฤๅษีไว้พร้อมเสาอินทขีล เป็นสัญลักษณ์คู่กันเอาไว้ข้างวิหารเสาอินทขีล
การสักการบูชาเสาอินทขีลจะเริ่มทำในวันแรม 13 ค่ำ เดือน 8 เหนือ และเสร็จในวันขึ้น 4 ค่ำ เดือน 9 เหนือ ประจำ ทุกปีรียกว่า เดือนแปดเข้า เดือนเก้าออก เพื่อให้เกิด ความสงบสุขแก่บ้านเมือง ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีมั่งคั่ง ด้วยทรัพย์สินเงินทอง ฝนตกตามฤดูกาล...




https://www.facebook.com...

กิจกรรมในเชียงใหม่