วัดธาตุน้อย


ประวัติความเป็นมา  พุทธศตวรรษที่ 19-20
วัดน้อย (วัดธาตุน้อย)ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัดกานโถม ก่อนการขุดแต่งเป็นเนินดินสองแห่ง มีชาวบ้านเข้ามาปลูกบ้านอาศัยบนโบราณสถานแห่งนี้ และยังพบร่องรอยกสารขุดหาทรัพย์สินด้วย โบราณสถานประกอบด้วยวิหารและเจดีย์ วิหารตั้งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีบันไดทางขึ้นด้านหน้าและด้านข้าง ๑ แห่ง พื้นวิหารปูอิฐ ด้านหลังวิหารเป็นซุ้มประดิษฐานพระประธานปูนปั้น เจดีย์มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 13.35 × 13.35 เมตร สูง 1.64 เมตร ต่อขึ้นไปเป็นองค์เจดีย์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 6.20 × 6.20 เมตร ลักษณะเจดีย์มีฐานใหญ่แต่องค์เจดีย์เล็ก พบร่องรอยฐานเสาทำจากศิลาแลงและก่ออิฐด้านบน ท้ายวิหารก่อเป็นซุ้มสำหรับประดิษฐานพระประธานปูนปั้น ปัจจุบันเหลือเพียงส่วนฐานของซุ้มและส่วนหน้าตักของพระประธานกว้าง 2 เมตร ส่วนเจดีย์ตั้งอยู่ด้านหลังวิหาร คงเหลือหลักฐานเพียงชั้นหน้ากระดานสี่เหลี่ยมชั้นล่าง

ลักษณะความสำคัญ/จุดเด่น
พื้นวิหารปูอิฐ ด้านหลังวิหารเป็นซุ้มประดิษฐานพระประธานปูนปั้น เจดีย์มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 13.35 × 13.35 เมตร สูง 1.68 เมตร ต่อขึ้นไปเป็นองค์เจดีย์ เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสขนาด 6.20 × 6.20 เมตร ลักษณะเจดีย์มีฐานใหญ่แต่องค์เจดีย์เล็ก โบราณวัตถุสำคัญอื่นๆ ที่พบจากการขุดแต่งได้แก่ พระพิมพ์ดินเผา ปูนปั้นรูปเศียร เทวดา ยักษ์ และสัตว์ต่างๆ เช่น นาค กินนร นก หรือ หงส์ เป็นต้น พิจารณาจากรูปแบบทางสถาปัตยกรรม สามารถกำหนดอายุวัดนี้ได้ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 19-20

ที่มา http://culture.mome.co/watthatnoi/

เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่