สถานกงสุลกิตติมศักดิ์แห่งสาธารณรัฐออสเตรีย


ในปี พ.ศ. 2408 ได้มีการเปิดสถานกงสุลออสเตรียประจำกรุงเทพมหานครเป็นครั้งแรก ต่อมาในปี พ.ศ. 2412 ได้มีการทำสนธิสัญญามิตรภาพ สนธิสัญญาการค้า และสนธิสัญญาการจัดส่งสินค้าทางเรือ ระหว่างจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และประเทศไทย ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นความสัมพันธ์ทางการทูตในระดับทวิภาคี ประเทศไทยได้รับการดูแลจากเซี่ยงไฮ้จนถึงปี พ.ศ. 2426  และได้รับการดูแลจากโตเกียวในปี พ.ศ. 2426 ถึง พ.ศ. 2455 และในปี พ.ศ. 2455 ถึง พ.ศ. 2460 เป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยได้รับการช่วยเหลือจากสถานเอกอัครราชทูตในกรุงเทพมหานคร ณ โรงแรมโอเรียนเต็ล หลังจากการหยุดชะงักความสัมพันธ์ทางการทูต ระหว่างประเทศออสเตรียและประเทศไทยในช่วงสงครามโลกทั้งสอง ก็ได้มีการกระชับความสัมพันธ์กันอีกครั้งในปี พ.ศ. 2496 และในปี พ.ศ. 2497 ก็ได้มีการเปิดสถานทูตออสเตรียที่กรุงเทพฯ (อีกครั้ง) โดยทั่วไปสามารถกล่าวได้ว่าความสัมพันธ์ระหว่างประเทศทั้งสองเป็นไปอย่างเป็นกันเองและราบรื่น

จุดสูงสุดของการเยี่ยมเยือนระหว่างประเทศออสเตรียได้แก่ การเสร็จพระราชดำเนินเยือนออสเตรียเมื่อปี พ.ศ. 2440 ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 5 แห่งพระบรม ราชจักรีวงศ์– การเสด็จพระราชดำเนินเยือนของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธฯ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 6ในสมัยทรงเป็นสยามกุฎราชกุมาร  เมื่อปี พ.ศ. 2445 –รวมถึงการเสร็จพระราชดำเนินการเยือนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเมื่อปี พ.ศ. 2507 และทางฝ่ายออสเตรียเองมีการมาเยือนประเทศไทยโดยประธานาธิบดี ฟรานซ์ โยนาส เมื่อปี พ.ศ. 2510 และประธานาธิบดี โทมัส คเลสทีล เมื่อปี พ.ศ. 2538 ทั้งนี้พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา ได้ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มของราชอาณาจักรไทย ในสาธารณรัฐออสเตรีย ระหว่างปี พ.ศ. 2556 ถึง พ.ศ. 2557

นอกจากงานทางด้านกงสุล – ชาวออสเตรียกว่า 100.000 คนต่อปี ที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวที่ประเทศไทย คือจุดแข็งของความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศออสเตรียและประเทศไทย ในประเทศไทยมีตัวแทนทั้งหมด 110 ตัวแทน –และมีสำนักงานขายของบริษัทออสเตรียรวมถึงกิจการร่วมค้า 12 กิจการ อีกด้วย

อีกด้านที่สำคัญด้านความร่วมมือระหว่างประเทศออสเตรียและประเทศไทยคือ การร่วมมือทางด้านวิชาการ สิ่งนี้เกิดโดยศาสตราจารย์จากเมืองอินส์บรุค ชื่อโรเด่ ที่ได้ก่อตั้ง ASEA-UNINET-Networkในปี พ.ศ. 2537 และสร้างความร่วมมือสำหรับมหาวิทยาลัยในระดับทวิภาคีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา

ที่มา bmeia.gv.at

กิจกรรมในเชียงใหม่