สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (ภาคเหนือ)

 กระบวนการจัดตั้ง พอช. เกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้ที่เกี่ยวข้องมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปลายปี 2537 จากการที่หน่วยงานพัฒนาทั้งภาครัฐ เอกชน และชุมชน ได้ร่วมประชุมระดมความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการจัดตั้งองค์กรที่มีหน้าที่ในการสนับสนุนการพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นรากฐานสำคัญในการพัฒนาสังคม และประเทศชาติ ในระหว่างปี 2538 – 2543 ได้มีการประชุมสัมมนาผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภาคชุมชนเมือง ชุมชนชนบท ภาครัฐ องค์กรพัฒนาเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิ ต่อเนื่องหลายครั้ง ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบหลักการร่างพระราชกฤษฎีกา จัดตั้ง พอช.แล้ว (เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2543) ก็ได้มีคณะทำงานองค์กรชุมชนและองค์กรพัฒนาเอกชน ไปร่วมจัดเวทีให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดตั้ง พอช. และระดมความเห็นจากองค์กรชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงาน พอช. โดยได้จัดเวทีในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ 8 พื้นที่ มีเครือข่ายองค์กรชุมชนรวมกว่า 100 เครือข่าย ภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาการจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม 2543) ก็ได้มีการสัมมนารวม “การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนและผู้ที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน” ขึ้นอีกครั้งหนึ่งโดยได้สรุปภาพรวมความเห็นจากเวทีต่าง ๆ ทั่วประเทศว่า อยากให้ พอช. เป็นองค์กรแบบใด ทำงานอย่างไร การมีส่วนร่วมขององค์กรชุมชนใน พอช. ควรมีวิธีการ/ช่องทางอย่างไร เป้าหมายและวิธีการของชาวบ้านที่จะไปสู่การเป็นองค์กรชุมชนเข้มแข็งเป็นอย่างไร และ พอช. จะสนับสนุนองค์กรชุมชนอย่างไร ประชาชนและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ให้ข้อเสนอแนะและความคาดหวังต่อการทำงานของพอช. ไว้อย่างหลากหลาย ทั้งในระยะ 1 ปี 5 ปี และ 20 ปี ซึ่งคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งสถาบันและผู้บริหารของสถาบันได้นำไปใช้เป็นแนวทางในการบริหารองค์กรเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน

เทรนด์
กันยายน 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่