หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก


ประวัติความเป็นมา

หอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก เชียงใหม่ เกิดขึ้นจากดำริของฯพณฯ ท่านพลเอกเปรม ติณสูลานนท์  นายกรัฐมนตรีคนที่ 16  (ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ)  ที่ต้องการจัดตั้งหอสมุดแห่งชาติฯ  ประจำภาคเหนือขึ้น  เพื่อถวายเป็นราชสักการะแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมฉลองปีรัชมังคลาภิเษก 2531
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  ทรงเสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอาคารเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ.2532 และได้เปิดให้บริการเมื่อวันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2532 ปัจจุบันเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักศิลปากรที่ 8 เชียงใหม่ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม 

ห้องบริการ

ห้องหนังสือทั่วไป 1

ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือทั่วไป (ภาษาไทย)  โดยจัดแบ่งหมวดหมู่ตามระบบทศนิยมดิวอี้ (DC) ได้แก่  หมวด 000(เบ็ดเตล็ด)  หมวด 100 (ปรัชญา)  หมวด 200  (ศาสนา)  หมวด 300  (สังคมศาสตร์)  หมวด 400  (ภาษาศาสตร์)  หมวด 500 (วิทยาศาสตร์)  หมวด 600  (วิทยาศาสตร์ประยุกต์)  นอกจากนี้ยังให้บริการทรัพยากรสารสนเทศแบบเรียนมหาวิทยาลัยรามคำแหง  หนังสือ  วารสารและนิตยสารกรมศิลปากร  วิทยานิพนธ์  การศึกษาอิสระ  มาตรฐานสินค้าเกษตร (มกษ)

ห้องหนังสือทั่วไป 2

ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือทั่วไป (ภาษาไทย)  ได้แก่  หมวด 700 (ศิลปะ  วิจิตรศิลป์และมัณฑณศิลป์)  หมวด 800 (วรรณคดี)  หมวด 900 (ประวัติศาสตร์  ภูมิศาสตร์)  หนังสือภาษาต่างประเทศ  หมวด  000-900  หนังสืออ้างอิงต่างๆ  (พจนานุกรม  สารานุกรม  บรรณานุกรม  หนังสือรายปี  สิ่งพิมพ์รัฐบาล)  นวนิยาย  นอกจากนี้ยังให้บริการราชกิจจานุเษกษา  โดยแยกตามประเภท  ปีที่พิมพ์  เรียงตามลำดับที่  และตอนที่  สามารถติดต่อเจ้าหน้าที่ให้ช่วยค้นคว้าและใช้บริการได้


ห้องหนังสือท้องถิ่น

ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับ 17 จังหวัดภาคเหนือ  ได้แก่  หนังสือ  รายงานวิจัย  วิทยานิพนธ์  วารสารและนิตยสาร  หนังสือพิมพ์  กฤตภาค  จุลสาร  และแฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง  ดรรชนีค้นเรื่อง  สารบัญค้นเรื่อง  และบรรณานุกรมสิ่งพิมพ์ภาคเหนือ  นอกจากนี้ยังให้บริการหนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระราชวงศ์จักรี  พระราชนิพนธ์  หนังสือหายาก  หนังสืออนุสรณ์งานศพ  โดยจัดแยกให้บริการตามประเภทของทรัพยากรสารสนเทศ


ห้องหนังสือเยาวชน

ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทหนังสือเยาวชน  ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่มีเนื้อหาเหมาะสมสำหรับเด็กและเยาวชน  นอกจากนี้ยังได้มีการจัดมุมของเล่น  เกมเสริมทักษะด้านพัฒนาการ  ส่งเสริมการอ่านของเด็กและเยาวชนไว้บริการเป็นสัดส่วน  นอกจากนี้ภายในบริเวณห้องหนังสือเยาวชนได้มีการจัดแบ่งออกให้บริการเป็นมุม หนังสือเกาหลี  (Korea Book Corner)  โดยมีหนังสือภาษาไทยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับประเทศเกาหลีและหนังสือภาษาเกาหลี ที่ได้รับมอบจากชาวเกาหลีไว้ให้บริการ

ห้องวารสารและหนังสือพิมพ์

ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสิ่งพิมพ์ต่อเนื่อง  วารสาร  นิตยสาร  หนังสือพิมพ์  ทั้งฉบับภาษาไทยภาษาต่างประเทศ  โดยจัดเก็บไว้ให้บริการทั้งฉบับปัจจุบันและฉบับล่วงเวลา  บริการข้อมูลจากกฤตภาค  จุลสาร  แฟ้มข้อมูลเฉพาะเรื่อง  คู่มือช่วยการค้นคว้า  ดรรชนีค้นเรื่องวารสาร  สารบัญวารสาร  นอกจากนี้ยังได้มีการจัดมุมหนังสือสำหรับผู้พิการทางสายตา (อักษรเบรลล์) ให้บริการเช่นกัน


ห้องโสตทัศนวัสดุ

ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศประเภทสื่อโสตทัศนวัสดุต่างๆ  ได้แก่  แถบบันทึกเสียง  เทปบันทึกเสียง  เทปบันทึกภาพ  แผ่นเสียง  ซีดีรอม  วีซีดี  ดีวีดี  สไลด์  ภาพนิ่ง รูปภาพ  แผนภูมิ  แผนที่  นิทรรศการ  นอกจากนี้ยังจัดบริการอินเทอร์เน็ตสำหรับค้นคว้าและสืบค้นข้อมูลแบบไม่เสีย ค่าใช้จ่าย


ห้องภาษาโบราณ

ให้บริการเอกสารประเภทต้นฉบับตัวเขียน  เอกสารปฐมภูมิแสดงหลักฐานที่เป็นภาษาและตัวหนังสือแต่เก่าก่อนซึ่งสำเร็จ ด้วยหัตถกรรม  เป็นเอกสารที่บันทึกสรรพวิชาของบรรพชนชาวภาคเหนือ  ได้แก่ คัมภีร์ใบลานและหนังสือสมุดไทย  โดยเอกสารโบราณที่จัดเก็บสำหรับบริการจะมีเนื้อหาเกี่ยวกับทางด้านประวัติ ศาสตร์  พระพุทธศาสนา  อารายธรรมของสังคมกลุ่มต่างๆ ในภาคเหนือ  วรรณกรรม  วัฒนธรรม  จริยธรรมและคุณธรรม  ตำรายาและโหราศาสตร์  มีระบบการจัดเก็บให้บริการเรียงตามลำดับที่ลงทะเบียนไว้ตั้งแต่ต้นจนถึง ปัจจุบัน  โดยมีบัญชีรายชื่อเอกสารโบราณเป็นเครื่องมือช่วยสืบค้น

หอศิลปวัฒนธรรมภาคเหนือ

ให้บริการลักษณะห้องจัดแสดงศิลปวัตถุ  สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  ภาพถ่ายของชาวล้านนาในอดีต  ที่ประชาชนได้มอบให้พลเอกเปรม  ติณสูลานนท์  เนื่องในโอกาสวันเปิดอาคารหอสมุดแห่งชาติรัชมังคลาภิเษก  เชียงใหม่  และท่านได้มอบให้หอสมุดแห่งชาติฯ เชียงใหม่  เป็นผู้ดูแลต่อไป


ที่มา 202.28.248.175

เทรนด์
กันยายน 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่