วัดพันเตา

ประวัติความเป็นมา วัดพันเตา

วัดพันเตาสร้างขึ้นเมื่อในสมัยพุทธศตวรรษที่ 21 ตอนต้น เมื่อประมาณ พ.ศ.5040 เดิมเป็นเขตสังฆาวาสและพื้นที่หล่อพระอัฎฐารสของวัดเจดีย์หลวง ต่อมาได้สร้างเป็นวัดพันเตา แต่เดิมคนเชียงใหม่เรียกที่นี่ว่าวัด ปันเต้า (พันเท่า) อันหมายถึงการที่มาทำบุญเพียงหนึ่งจะได้บุญกลับไปเป็นพันเท่า ภายหลังเพี้ยนเป็น พันเตา อีกที่มาหนึ่ง น่าจะมาจากการใช้วัดนี้เป็นแหล่งสร้างเตาหล่อพระนับร้อยนับพันเตา จึงได้ชื่อว่า วัดพันเตา นั่นเอง

ภายในวัดแห่งนี้มีพระวิหารที่งดงามและสมบูรณ์ที่สุดของจังหวัดเชียงใหม่ ตัวอาคารเป็นเรือนไม้สักทั้งหลัง ตามศิลปะแบบเชียงแสน เดิมเป็นหอคำหรือคุ้มหลวงที่ประทับของพระเจ้ามโหตรประเทศ (เจ้าครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 5) ต่อมาในสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ (องค์ที่ 7) โปรดฯ ให้รื้อหอคำแห่งนี้ถวายให้เป็นพระวิหารของวัดพันเตา นอกจากนี้ยังมีธรรมาสน์ยกพื้นสูงแบบโบราณอายุกว่าร้อยปีให้ได้ชม ด้านหลังพระวิหารหอคำหลวง เป็นเจดีย์องค์ประธานของวัด ทรงระฆังบนฐานแปดเหลี่ยม รายล้อมด้วยเหล่าเจดีย์รายงดงาม

ลักษณะความสำคัญ/จุดเด่น วัดพันเตา

วิหารวัดพันเตา เดิมคือ หอคำของพระเจ้ามโหตรประเทศ (เจ้าครองนครเชียงใหม่องค์ที่ 5) ด้านบนเมื่อมองขึ้นไปจะเห็นว่าหน้าบานประตูประดับด้วยไม้แกะสลักเป็นรูปนกยูงซึ่งเป็นสัตว์สัญลักษณ์ของเจ้านายฝ่ายเหนือ

ธรรมาสน์โบราณ ไม้ประกับ และรูปภาพของเจ้านาย เจ้าครองนครในสมัยอดีต 3. ศาลา ในศาลามีสมเด็จพุฒาจารย์โต พรหมรังสี มีบ่อน้ำให้ประชาชนนำไปสักการบูชา ตรงกลางศาลาเมื่อมองขึ้นไปด้านบนเพดานจะเห็นลวดลายไม้แกะสลักเป็นสัญลักษณ์ 12 ราศี

ที่มา templeofchiangmai.weebly.com

เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่