มัสยิดดารุลบิร

เล่ากันว่า มัสยิดดารุลบิร  เริ่มจากการรวมตัวของพี่น้องมุสลิมนูรูลฮูดา หรือเรียกกันจนติดปากกันทั้งเมืองว่า มัสยิดหนองแบน ที่ย้ายหรือขยายฐานที่อยู่เพื่อมาประกอบสัมมาชีพ แสวงหาความรุ่งเรื่องของชีวิต และอนาคตที่สดใสของตนเองและลูกหลานในภายภาคหน้าทั้งดุนยาและอาคีรัต มัสยิดแห่งนี้เป็นมัสยิดที่มองจากสายตาว่าเป็นมัสยิด ขนาดเล็ก แต่การจัดการบริหารของมัสยิด ก็มิได้เล็ก อย่างที่คิด แนวคิดของอีหม่าม คอเต็บ บิหลั่น และคณะกรรมการที่นี่ เป็นสิ่งที่หลาย ๆมัสยิด ยังก้าวมาไม่ถึง ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของการจัดสวัสดิการให้กับชุมชน ทางมัสยิดจัดให้มีกลุ่มออมทรัพย์ ที่ชื่อ “กลุ่มออมทรัพย์มุสลิมเชียงใหม่” ซึ่งดำเนินการ มาแล้วกว่า ๕ ปี มียอดเงิน ณ.ปัจจุบัน กว่า สามแสนบาท มีคุณเลิศ ชัยคำ บิหลั่น ประจำมัสยิด เป็นผู้ดูแลและจัดการบริหาร โดยมีวัตถุประสงค์ เพือการให้ยืม สำหรับสมาชิกที่มีปัญหา ทางด้านการเงิน หลีกพันจากเรืองดอกเบี้ยและเงินกู้นอกระบบ เป็นการแบ่งเบาภาระของพี่น้องในชุมชนได้ในระดับหนึ่ง 

นอกจากนั้น ยังมีศูนย์ฟื้นฟูคุณภาพชีวิตมัสยิดดารุลบิร ซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับ การสร้างความเข้าใจ ปรับทัศคติ การอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ HIV กับผู้นำ ศาสนา ผู้นำชุมชน ประชาชนที่อยู่ในพื้น ให้อยู่ร่วมกันอย่างปกติสุข โดยใช้ศาสนธรรมเข้าเชื่อมต่อสร้างความรักความเข้าใจระหว่างกัน และยังมีการดูแลให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อและเด็กเยาวชนผู้ได้รับผลกระทบอีกส่วนหนึ่งด้วย

ในส่วนของเยาวชน คุณเลิศ ชัยคำ เล่าให้ฟังว่า ตอนนี้ เรากำลังจัดทำโครงการ คอมพิวเตอร์เพื่อเยาวชน ซึ่งได้ดำเนิน การไปแล้วส่วนหนึ่ง ตอนนี้เรามีคอมฯ ทั้งหมดสองเครื่อง ดำเนินการขอ สัญญาน อินเตอร์เน็ต จากองค์การโทรศัทพ์มาแล้ว ต่อสัญญา ไวเล็ท เพื่อบุคคลที่มีโน้ตบุค จะได้เชื่อมต่อสัญญานของมัสยิดได้ เป็นกลยุทธ์ หนึ่ง ที่พยายาม ดึงเยาวชนเข้ามาใช้ศาสนสถาน  เพื่อทำให้มัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชน เป็นที่พึ่ง เป็นที่พักพิง เป็นทุกอย่าง ที่สร้างสรรค์สังคม ตามแนวทางอัลอิสลาม ยังมีโครงการดี ๆ อีกมากมาย ที่พรั่งพรูมาจาก ผู้นำศาสนาท่านนี้

การดำเนินงานครั้งนี้ เราได้รับความร่วมมือ จากหลายแห่ง นอกเหนือจาก คณะกรรมการมัสยิดแล้ว เรายังได้ ความอนุเคราะห์ จาก อาจารย์มุฮัมหมัด บินต่วน ผอ.โรงเรียน จิตต์ภักดีมัสยิดอัต-ตักวา ส่งนักเรียน เข้าร่วมกิจกรรม นี้ จำนวน ๒๕ คน ตัวชี้วัดความเข็มแข็งของชุมชน สังเกตุได้จากการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ ในการจัดกิจกรรมของมัสยิด ได้เห็นพลังแห่งการร่วมมือ ร่วมใจ ร่วมทำ ร่วมผลประโยชน์ ที่นำมาซึ่งประโยชน์สุขแก่ชุมชน เราพบ กับการทุมเท กระตื้อรื้อรน ของพี่น้องมุสลิมและผู้นำชุมชน ณ สถานที่แห่งนี้ ขับเคลือนไปด้วยพลังอันเปลี่ยมไปด้วย ความรัก ความเอื้ออาทร ที่ส่งต่อไปยัง ผู้คนในชุมชนแม้นกระทั้งผู้ที่มาเยื่ยมเยือน สมกับกับเป็นชาวอันซอร์ ผู้ให้การต้อนรับอย่างดีเยี่ยม 

ที่มา muslimlanna


เทรนด์
กันยายน 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่