มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (แม่ริม) วิทยาเขตสะลวง – ขี้เหล็ก
บริการ
เบอร์โทร / ลิงค์
CALL CENTER  0-5388-5555
TEL. 1178
FAX 0-5388-5319
Website cmru.ac.th
Facebook cmrufans
TwitterCMRUOfficial
Youtubecmruchannel
E-learning CMRU E-Learning
ดาว์นโหลด APPS
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ เมื่อวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๔๗ อันมีผลให้สถาบันราชภัฏ เปลี่ยนชื่อเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏ และมีสถานภาพเป็นนิติบุคคลโดยสมบูรณ์ ยังความปลาบปลื้ม ยินดีแก่ชาวราชภัฏทุกคน

และในวันที่ ๑๔ มิถุนายน ๒๕๔๗ พระราชบัญญัติ มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.๒๕๔๗ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นชาวราชภัฏทั้ง ๔๑ แห่ง จึงร่วมใจพิธีถวายราชสดุดี เฉลิมฉลองนามมหาวิทยาลัยราชภัฏ พร้อมกัน ในวันอังคารที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๔๗ เวลา ๐๙.๐๙ น. พร้อมกันทั่วประเทศ

ในส่วนของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีคณะผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และศิษย์เก่า ร่วมพิธีกว่าหมื่นคน ณ สนามฟุตบอล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ที่มา cmru.ac.th

  
ประวัติการก่อตั้ง  
 

ประวัติการก่อตั้ง
ประวัติและความเป็นมาของวิทยาเขตสะลวง – ขี้เหล็ก มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
     มีความเป็นมายาวนานตั้งแต่ปี พ. ศ. 2467 ได้เริ่มต้นจัด การศึกษาครั้งแรกโดยจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดครูกสิกรรม โดยตั้งอยู่บริเวณเวียงบัวซึ่งเป็นที่ตั้งของ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปัจจุบันมีพื้นที่ 80 ไร่ ต่อจากนั้นก็ได้พัฒนาหน่วยงานเป็นวิทยาลัยครู สถาบันราชภัฏและมหาวิทยาลัยราชภัฏในปัจจุบัน
     สมัยนั้นในฐานะเป็นวิทยาลัยครูเชียงใหม่ สังกัดกรมการฝึกหัดครู มีภารกิจในการผลิตครู ที่มีคุณภาพให้กับท้องถิ่น โดยเฉพาะพื้นที่
ที่ได้ดูแลได้แก่ เชียงใหม่กับแม่ฮ่องสอน ผู้บริหารสมัยนั้นได้แก่ ดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์ อธิบดีกรมการฝึกหัดครู ผศ.สายสมร สร้อยอินต๊ะ อธิการวิทยาลัยครูเชียงใหม่พร้อมกับผู้บริหารวิทยาลัยครูเชียงใหม่ ได้มีวิสัยทัศน์และแนวคิดที่จะพัฒนาวิทยาลัยครูขยายและยกระดับการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้กว้างขึ้นและยกฐานะเป็นมหาวิทยาลัย ดังนั้นเมื่อมีการเติบโตของหน่วยงานพื้นที่ที่จัดการศึกษาที่เป็นวิทยาลัยครูจะไม่มีพื้นที่รองรับอย่างพอเพียง จึงมีแนวคิดที่จะหาพื้นที่ใหม่เพื่อการรองรับการขยายตัวของหน่วยงาน ในปี พ.ศ.2536 กรมการฝึกหัดครู โดย ดร.นิเชต สุนทรพิทักษ์ อธิบดีกรมการฝึกหัดครู ได้ให้นโยบายกับวิทยาลัยครูทั่วประเทศให้หาพื้นที่ที่เป็นวิทยาเขตเพื่อรองรับในการขยายตัวของวิทยาลัยครู
     จุดเริ่มต้นของการเสาะแสวงหาพื้นที่ใหม่ เริ่มตั้งแต่เมื่อเดือน มิถุนายน ปี 2536 หลังจาก ท่านอธิการ ผศ.สายสมร สร้อยอินต๊ะ เข้ามารับตำแหน่งอธิการบดี เมื่อ 24 ธันวาคม 2534 โดย มีเป้าหมายของการเตรียมการตั้งคณะเกษตรและอุตสาหกรรม ได้มีการประชุมคณาจารย์ภาควิชาเกษตรไร่ฝึก ตำบลแม่สา อำเภอแม่ริม มี รศ. อมรา ทีปะปาล เป็นหัวหน้าภาควิชา ที่ประชุมมีข้อคิดเห็นตรงกันว่า พื้นที่ 55ไร่ของภาควิชาเกษตรที่ตำบลแม่สาไม่เพียงพอสำหรับการจัดตั้งคณะเกษตรและอุตสาหกรรมการเริ่มต้นจึงเกิดขึ้นโดยมีหัวหน้าภาควิชาเกษตร รศ.อมรา ทีปะปาล ผศ.เกษม จันพินิจ และอาจารย์ศุภชัย ศรีธิวงศ์ ได้ไปดูพื้นที่อำเภอสะเมิง ไปดูพื้นที่ตามคำแนะนำของอาจารย์นิยม เหล่าแสง ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการพระราชดำริ จนวน 800 ไร่ แล้วกลับมาสรุปให้ข้อมูลว่า มีปัญหาเรื่องน้ำและระยะทางไกลเกินไป ในการที่จะส่งกองกำลังบำรุงได้ จากนั้นคณะกรรมการจึงได้เสาะแสวงหาที่ใหม่เป็นจุดที่ 2 เป้าหมายของการสำรวจอยู่ที่อำเภอจอมทองทางแยกเข้าดอยอินทนนท์ อยู่หน้าวัดสังวรณ์วราราม จำนวนประมาณ 3,000 ไร่ ห่างไกลจากวิทยาลัยครูเชียงใหม่ 70 กิโลเมตร ถนนดี มีทิวทัศน์วิวสวย มีภูเขาล้อมรอบ จึงเริ่มกิจกรรมเชิงรุกโดยการนำนักศึกษาและคณาจารย์ไปร่วมกันทำกิจกรรมปลูกป่าในเดือนสิงหาคม ปี 2536 แต่มีกระแสการต่อต้านจากผู้ที่บุกรุกพื้นที่เดิมอีกทั้งได้ทราบว่าพื้นที่ดังกล่าวได้ดำเนินการปลูกสวนป่าของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แล้ว ควรหลีกเลี่ยงพื้นที่สวนป่า ในการดำเนินการครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการของอำเภอจอมทองเป็นอย่างดี โดยเฉพาะท่านนายอำเภอจอมทอง นายเฉลิม วรวุฒิพุทธิวงศ์ การดำเนินการหาพื้นที่ที่จอมทอง ทางคณะกรรมการก็ได้ดำเนินการทางด้านเอกสารในการขออนุญาตใช้ประโยชน์ของพื้นที่ ยื่นผ่านความเห็นชอบระดับจังหวัด โดยเสนอต้นเรื่องผ่านจากอำเภอจอมทอง ป่าไม้อำเภอ นายอำเภอจอมทอง มาสู่ระดับป่าไม้จังหวัด ป่าไม้เขตและผู้ว่าราชการจังหวัดโดยมี ผศ.เกษม จันพินิจ เป็นผู้ดำเนินการติดตามเส้นทางของหนังสือผ่านทุกขั้นตอน มีการเข้าสำรวจพื้นที่เพื่อกำหนดเขตและแผนผังพื้นที่ระบุรายละเอียดในเอกสาร ทั้งหมดพร้อมที่จะยื่นเสนอไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยต้องเสนอผ่านกรมการฝึกหัดครูและกระทรวงศึกษาธิการ
ในขั้นตอนของการนำเสนอผ่านกรมการฝึกหัดครูได้รับความช่วยเหลือ แนะนำให้ข้อคิดเห็นและประสานเข้าพบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อชี้แจงรายละเอียดของโครงการ โดยได้รับความช่วยเหลือจากท่านรองอธิบดีกรมการฝึกหัดครู อาจารย์กลาย กระจายวงศ์ และดร.ประเสริฐ จริยานุกูล หัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์

อ่านเพิ่มเติม maerimcenter.cmru.ac.th


เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่