วัดวารีสุทธาวาส (วัดร้องขุ่น)

วัดวารีสุทธาวาส ตั้งอยู่เลขที่ 67 บ้านร้องขุ่น หมู่ที่ 10 ตำบลสันปูเลย อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ 1 เส้น 4 วา ทิศใต้ประมาณ 1 เส้น 4 วา จดที่นาและสวนของเอกชน ทิศตะวันออกประมาณ 1 เส้น 3 วา จดโรงเรียนกำธรอุทิศ ทิศตะวันตกประมาณ  1 เส้น 10 วา จดถนน มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 1 ไร่ 50 ตารางวา อาคารเสนาสนะประกอบด้วย วิหาร ศาลาอเนกประสงค์ กุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุมีเจดีย์โบราณแบบล้านนาไทย

วัดวารีสุทธาวาส สร้างเทื่อ พ.ศ. 2408 ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดร้องขุ่น เดิมชื่อวัดสันกู่ การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระอินตา รูปที่ 2 พระอินต๊ะ รูปที่ 3 พระพรหมา รูปที่ 4 พระจันทร์ตา รูปที่ 5 พระดาวแก้ว รูปที่ 6 พระอธิการเต้ง ปินต๊ะ รูปที่ 7 พระอธิการอินทร ยานรงฺษี รูปที่ 8 พระอธิการอินถา คุณธมฺโม รูปที่ 9 พระอธิการดาวจันทร์ กนฺตสีโร รูปที่ 10 พระอินถา อภิปุญฺโญ รูปที่ 11 พระครูสุเทพ ขนฺติโก ตั้งแต่ พ.ศ. 2498 เป็นต้นมา การศึกษามีศูนย์ศึกษาพระศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอน พ.ศ. 2520

 วัดวารีสุทธาวาส มีพระธาตุเจดีย์ที่บรรจุอัฐธาตุของพระพุทธเจ้าพระวิหารใช้สำหรับกิจกรรมทางศาสนา มีศาลาการเปรียญ วัดเป็นสถานทีที่น่าศึกษาท่องเที่ยว และควรแก่การอนุรักษ์เพื่อการเคารพบูชาตามพระพุทธศาสนา เป็นศูนย์รวมจิตใจของประชาชนในหมู่บ้านให้รู้จักมีความรักความสามัคคีซึ่งกันและกัน และให้รู้จักการเสียสละการมีส่วนร่วมในหมู่คระหรือชุมชน เป็นวัดเก่าแก่ที่ราษฎรให้ความเคารพนับถือ เป็นศูนย์รวมจิตใจให้ชุมชนอยู่ร่วมกันด้วยความสันติ

 สภาพทางสังคม เช่น ภาษา ศาสนา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น มีความเป็นพื้นบ้านที่มีการรักษาศิลปวัฒนธรรมได้เป็นอย่างดี มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน รู้จักการมีส่วนร่วมมีความสามัคคีกันในหมู่บ้านอย่างดี


ขนมธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นตลอดจนศาสนพิธีวัฒนธรรมและพิธีกรรมต่าง ๆ ในชุมชน

วัน เดือน ชื่อประเพณี กิจกรรม

มกราคม มกราคม ประเพรีตานข้าวใหม่ หลังจากเก็บเกี่ยวข้าวในนาเข้ายุ้งฉาง มีพิธีทำขวัญข้าว นำข้าวของหวานคาวไปทำบุญที่วัดก่อนที่จะบริโภคทั้งปี เพื่อเป็นสิริมงคล

กุมภาพันธ์ กุมภาพันธ์ วันมาฆบูชา ทำบุญตักบาตร ไปวัดฟังเทศน์ตอนเย็น ไปเวียนเทียนที่วัด

13 เมษายน เมษายน วันปี๋ใหม่เมือง (สังขาลล่อง) ทำความสะอาดบ้านเรือนที่อยู่อาศัย เสื้อผ้า ร่างกาย สระเกล้าดำหัว (สระผม) ทำความสะอาดวัด

14 เมษายน เมษายน วันเนา หรือวันเน่า เป็นวันแต่งดา (ห่อขนม) เพื่อเตรียมตัวทำบุญวันรุ่งขึ้น ขนทรายเข้าวัด

15 เมษายน เมษายน วันพญาวัน ไปทำบุญตักบาตรตอนเช้าและตอนบ่ายฟังเทศน์

16 เมษายน เมษายน วันปากปี๋ (วันปากปี) วันแรกของปี๋ใหม่เมือง แห่ไม้ก้ำสลีรอบบ้านรดน้ำดำหัวคนเฒ่าคนแก่ - ทำบุญสะเดาะเคราะห์ให้ตัวเอง

- ขอขมาผู้เฒ่าผู้แก่ด้วยวิธีการดำหัว

- ทำไม้ค้ำต้นโพธิ์เพื่อค้ำจุนศาสนาต่อไป


ขนมธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นตลอดจนศาสนพิธีวัฒนธรรมและพิธีกรรมต่าง ๆ ในชุมชน

วัน เดือน ชื่อประเพณี กิจกรรม

ตุลาคม ตุลาคม ประเพณีตานก๋วยสลาก ถวายทานไว้ภายหน้า และอุทิศไปหาผู้ล่วงลับไปแล้ว

พฤศจิกายน พฤศจิกายน ประเพณีเดือนยี่เป็ง ทำบุญตักบาตร ตอนเย็นจุดเทียนประทีป โคมไฟ ที่วัดและบ้าน ทำกระทงไปลอยแม่น้ำใหญ่ในหมู่บ้านเพื่อขอขมาแม่น้ำ และขอให้โชคดีในชีวิต มีการประกวดกระทงเนื่องในวันลอยกระทง

ที่มา splmu.go.th

เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่