อนุสาวรีย์คุ้มสิงห์

“ข่วงสิงห์ (คู่ ) มีป้ายจารึกบอกเล่าความเป็นมาว่า” บริเวณนี้เดิมเคยเป็นลานโล่งกว้าง เรียกว่า”ข่วง”อยู่นอกเมืองเชียงใหม่ทางด้านทิศเหนือ ห่างจากประตูช้างเผือกซึ่งเป็นประตูเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 2 กม.ต่อมาในปีพ.ศ.2344 พระเจ้ากาวิละ เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ พระองค์แรก (พ.ศ. 2325-2356 ) ในสมัยรัตนโกสิน ทร์ โปรดให้ก่อสิงห์ปูนปั้นสีขาว ยืน 2 ตัว แต่ละตัวอยู่ภายในซุ้ม ตั้งไว้ที่นี่ ตัวหนึ่งหันหน้าไปทางทิศเหนือ อีกตัวหนึ่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออก แล้วทำพิธีอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ให้มาสถิตย์เป็นเดชานุภาพของบ้านเมือง ในอดีตกองทัพเชียงใหม่ ได้มากระทำพิธีบูชา เพื่อความเป็นสิริมงคลทุกปี จนเป็นที่รู็จักกันโดยทั่วไปว่า”ข่วงสิงห์ชัยมงคล”

ต่อมาเจ้าอินทวิชายานนท์ เจ้าหลวงเมืองเชียงใหม่ องค์ที่ 7 ( พ.ศ.2416-2439 ) โปรดให้สร้างวัดขึ้นไว้บริเวณใกล้กันวัดหนึ่งคือวัดข่วงสิงห์ชัยมงคล “สำหรับวัดข่วงสิงห์ในปัจจุบัน หากเลี้ยวตรงทางลอดข่วงสิงห์ ไปตาม ถ.โชตนา ผ่านหัวมุมเลี้ยวจะเห็นวัดนี้ทางซ้ายมือ ถัดไปอีกนิดเดียว จะเห็นป้ายบอกทางเข้าอนุสาวรีย์บรรพชนนิรนาม โดยที่ตั้งข่วงสิงห์คู่ จะอยู่ติดกับสุสานจีนข่วงสิงห์ ซึ่งขณะนี้มีการเตรียมงานไหว้บรรพบุรุษของลูกหลานชาวจีนในเชียงใหม่ด้วย ผู้ดูแลสถานที่ กล่าวว่า ในวันที่ 19 เม.ย.นี้ จะมีพิธีสมโภช สิงห์คู่ บูชาอนุสาวรีย์บรรพชนนิรนาม จัดกันยิ่งใหญ่ทุกๆปี มีการสอดประสาน งานปี๋ใหม่เมือง รดน้ำดำหัวผู้สูงอายุในชุมชนข่วงสิงห์ พร้อมๆกิจกรรมพื้นบ้านมากมาย

ทั้งนี้เมื่อครั้งฉลองเมืองเชียงใหม่ 700 ปี พ.ศ.2539 หน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้ร่วมกันบูรณะซ่อม แซมข่วงสิงห์ พร้อมกับปรับภูมิทัศน์โดยรอบ ด้วยการขุดคูน้ำล้อมแล้วยกพื้นก่ออิฐถือปูนเป็นลานกว้าง มีบันไดทางขึ้นอยู่ด้านหน้าทิศตะวันออก สิงห์แต่ละตัวสูงประมาณ 2 เมตร ทาสีขาวภายในซุ้ม ปัจจุบันตั้งอยู่ที่ถนนเชียงใหม่-แม่ริม ใกล้สี่แยกข่วงสิงห์ ต.ช้างเผือก อ.เมือง เชียงใหม่ กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำคัญของชาติ เมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2478

ส่วนอนุสาวรีย์บรรพชนนิรนาม ตั้งอยู่ด้านหน้าใกล้ๆกัน ห่าง ถ.โชตนาราวๆ 10 ม. สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2539 ในวโรกาสที่รัชกาลที่ 9 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชย์สมบัติ 50 ปี ในจารึกบนป้ายหน้าอนุสาวรีย์ ระบุ สร้างเพื่อระลึกถึงบรรพชน วีรชนที่ได้เสียสละ เลือดเนื้อ เข้าสู้รบข้าศึกศัตรู ต้องบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก เพื่อปกป้อง คุ้มครอง กอบกู้ ป้องกันรักษาบ้านเมือง เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิต เข้าแลกไว้ ให้ได้อยู่มาอย่างเป็นสุขจนถึงทุกวันนี้ เป็นศูนย์รวมใจ รวมความรักสามัคคี หวงแหน แผ่นดินสืบไป เป็นมรดกตกทอดสืบไป ชั่วกาลนาน

ในวันที่ 11 มิย.พศ.2539 ทำพิธีวางศิลาฤกษ์ มี นายภักดี ชมภูมิ่ง รอง ผวจ.เชียงใหม่ เป็นประธาน และ 7 เม.ย.พ.ศ.2539 นายธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ รมช.สาธารณสุข ในขณะนั้นเป็นประธาน บ้านเมือง แผ่นดิน เป็นปึกแผ่น ร่มเย็นเป็นสุขสืบมา เพราะมีวีรกรรม ของวีรชนที่ปกป้อง รักษาไว้ เป็นสิ่งที่ผู้คนในสังคมต้องสำนึกคุณงามความดี บรรพชน ผู้กล้า (นิรนาม )เหล่านั้นสืบไป



ที่มา chiangmainews.co.th

กิจกรรมในเชียงใหม่