สำนักงานหลักประกันสุขภาพ เขต 1 (สปสช.)
- อาคารสำนักงานไปรษณีย์เขต 5 ถนนมหิดล [1141] ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50200
- 1330 , 053-285-255 , 053-285-256 , 053-285-257
-
- จันทร์-ศุกร์ 08:30-16:30
- https://chiangmai.nhso.go.th/
- #สปสช #หลักประกันสุขภาพ #บัตรทอง #30บาทรักษาทุกโรค
-
ตำแหน่งจีพีเอส : 18.7800560, 98.9768130 (เปิดแผนที่บน Google Map) | เปิดพิกัดปัจจุบัน
บริการ | เบอร์โทร / ลิงค์ |
---|---|
CALL CENTER (24 ชั่วโมง) |
1330 |
TEL.เชียงใหม่ |
053-285-355 |
FAX | 053-285-364 |
Website | nhso.go.th |
NHSO.Thailand | |
*ตรวจสอบสิทธิหลักประกันสุขภาพ | eservices.nhso.go.th |
LINE GROUP | DC-user_R1 |
บริการข้อมูล คำแนะนำและบริการ | |
แบบคำร้องลงทะเบียนผู้มีสิทธิ | Download |
TEL | เบอร์โทรเจ้าหน้าที่ |
บริการออนไลน์ | nhso.go.th |
ขอ USER / Password ผ่าน ONLINE(สปสช. เขต 1 เชียงใหม่) | chiangmai2.nhso.go.th |
อีบุ๊คเอกสาร หลักประกันสุขภาพที่ควรรู้ | ebook.dreamnolimit.com |
พระราชบัญญัติ หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕
เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 52 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้บัญญัติให้ชนชาวไทยย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ และการให้บริการสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมเท่าที่จะกระทำได้ และมาตรา 82 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ได้บัญญัติให้รัฐต้องจัดและส่งเสริมการสาธารณสุขให้ประชาชนได้รับบริการที่ได้มาตรฐานและมีประสิทธิภาพอย่างทั่วถึง ด้วยเหตุนี้จึงต้องจัดระบบการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตให้มีการรักษาพยาบาลที่มีมาตรฐาน โดยมีองค์กรกำกับดูแลซึ่งจะดำเนินการโดยการมีส่วนร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคประชาชน เพื่อจัดการให้มีระบบการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพทั้งประเทศ และให้ประชาชนชาวไทยมีสิทธิได้รับการบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานด้วยกันทุกคน นอกจากนี้เนื่องจากในปัจจุบันระบบการให้ความช่วยเหลือในด้านการรักษาพยาบาลได้มีอยู่หลายระบบ ทำให้มีการเบิกจ่ายเงินซ้ำซ้อนกัน จึงสมควรนำระบบการช่วยเหลือดังกล่าวมาจัดการรวมกันเพื่อลดค่าใช้จ่าย ในภาพรวมในด้านสาธารณสุขมิให้เกิดการซ้ำซ้อนดังกล่าว และจัดระบบใหม่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้