สำนักงานชลประทานที่ 1


ารชลประทานในพื้นที่ราบภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานมาก เท่าที่ปรากฏพบเป็นหลักฐานนั้น มีการกล่าวถึงเรื่องเหมืองฝายในตำนานพื้นเมืองล้านนาตั้งแต่ระหว่างปี พ.ศ. 1100-1200 และในสมัยราชวงศ์เม็งรายปกครองอาณาจักรล้านนาระหว่างปี พ.ศ. 1839-2101 ได้มีการตรากฎหมายว่าด้วยการทดน้ำและการใช้น้ำขั้น และการชลประทานก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสังคม,เศรษฐกิจและการเมืองในยุคนั้นเป็นอย่างมากเมืองระบบการบริหารเหมืองฝายของราษฎรถูกจัดตั้งและบริหารกันมาช้านานจนกลายเป็นประเพณีอย่างหนึ่งของคนภาคเหนือจนอาจจะกล่าวได้ว่าราษฎรในภาคเหนือมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการชลประทานอยู่ในระดับที่สูง

กรมชลประทานได้มีบทบาทเกี่ยวกับการชลประทานในภาคเหนือเมื่อปี พ.ศ.2472 โดยได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างฝายสินธุกิจปรีชาขึ้นในแม่น้ำปิงที่บ้านสหกรณ์ ตำบลแม่แฝก อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ เป็นแห่งแรกและเริ่มมีองค์กรของรัฐเข้ามาส่งเสริมการชลประทานให้แก่เกษตรกรต่อมากรมชลประทานได้ตั้งโครงการชลประทานพายัพขึ้นที่จังหวัดลำปาง ครอบคลุมพื้นที่ 7 จังหวัด คือ ลำปาง แพร่ น่าน เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน และแม่ฮ่องสอน จนถึงปี พ.ศ.2518 ได้มีพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการกรมชลประทาน เป็นผลให้โครงการชลประทานพายัพแบ่งออกเป็นชลประทานเขต 1 จังหวัดเชียงใหม่ และชลประทานเขต 2 จังหวัดลำปาง อันนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงเป็นสำนักงานชลประทานที่ 1 และต่อมาในปี พ.ศ.2542 ได้เปลี่ยนเป็นสำนักชลประทานที่ 1 จนถึงปัจจุบัน

ที่มา rid-1.com

เทรนด์
กันยายน 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่