สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา (วัดซิกข์)

สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา (อังกฤษ: Sri Guru Singh Sabha; เป็นสมาคมชาวซิกข์ที่กำกับดูแลการดำเนินงานของ ศรีคุรุสิงห์สภา อันเป็นหน่วยงานที่ดูแลการดำเนินกิจกรรมของชาวซิกข์นอกประเทศอินเดียและเป็นที่ตั้งของคุรุทวาราสำหรับประกอบพิธีกรรมทางศาสนาซิกข์ ซึ่งมีสามขาทั่วโลก เช่น ศรีคุรุสิงห์สภา แคนาดา และ สหราชอาณาจักร สำหรับศรีคุรุสิงห์สภาในประเทศไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ปัจจุบันมีคุรุทวาราของศรีคุรุสิงห์สภาในประเทศอยู่ประมาณ 20 แห่งในพื้นที่จังหวัดต่าง ๆ เช่น กรุงเทพมหานคร, จังหวัดเชียงใหม่, จังหวัดปัตตานี

สำหรับศูนย์กลางดำเนินงานของสมาคมศรีคุรุสิงห์สภาในประเทศไทย ตั้งอยู่ที่สมาคมศรีคุรุสิงห์สภา กรุงเทพมหานคร บนถนนจักรเพชร เขตพระนคร เดิมทีตัวอาคารมีความสูงสามชั้นประกอบด้วยที่ทำการของสมาคมและคุรุทวารา ซึ่งถือเป็นศาสนสถานถาวรของซิกข์แห่งแรกในประเทศไทย


หลังก่อสร้างเสร็จ ประเทศไทยได้อยู่ในระหว่างช่วงสงครามมหาเอเซียบูรพา ซึ่งศรีคุรุสิงห์สภานั้นตั้งอยู่ใกล้กับโรงไฟฟ้าวัดเลียบอันเป็นเป้าหมายในการทิ้งระเบิดทางอากาศของฝ่ายสัมพันธมิตรถูกลูกระเบิดขนาด 1,000 ปอนด์ตกลงมาทะลุกลางอาคารจำนวน 2 ลูก แต่ตัวระเบิดไม่ทำงานจึงไม่เกิดการระเบิดขึ้น ชาวซิกข์เชื่อกันว่าเป็นด้วยบารมีของคุรุ ครันธ์ สาหิบ ที่ประดิษฐานในอาคารและท่ามกลางการสวดภาวนาของชาวซิกข์ที่เข้ามาหลบระเบิด หลังสงครามสงบ อาคารคุรุทวาราได้มีรอบร้าวจากแรงสั่นสะเทือนของการทิ้งระเบิดในบริเวณเพิ่ม ความเสียหายรุนแรงเกินกว่าจะซ่อมแซมได้ประกอบกับสถานที่คับแคบขึ้นเพราะศาสนิกชนที่เพิ่มจำนวนขึ้น[1] ในปี พ.ศ. 2522 สมาคมฯ จึงได้สร้างอาคารของคุรุทวาราขึ้นใหม่ในเวลา 2 ปี[2] มีความสูง 5 ชั้น ประกอบด้วยอาคารสองส่วน คือส่วนอาคารที่ทำการและส่วนอาคารของคุรุทวารา ซึ่งเป็นอาคารที่มียอดโดมสีทองคำสถาปัตยกรรมซิกข์ตั้งอยู่ นอกจากนี้ภายในยังประกอบด้วย โรงครัวพระศาสดาที่ประกอบอาหารแจกจ่าย, คลินิกรักษาผู้ยากไร้, ร้านค้าศาสนวัตถุและอุปกรณ์ประกอบพิธีกรรม รวมถึงผ้าโพกหัว และเป็นที่ตั้งสำนักงานของสมาคมฯ


เมื่อชุมชนขยายตัวขึ้น ชาวซิกข์เห็นถึงความจำเป็นต้องมีศาสนสถานถาวรแทนการเช่าสถานที่เพื่อทำเป็นศาสนสถาน ดังนั้น ใน พ.ศ.2475 ชุมชนซิกข์ในกรุงเทพฯ จึงรวบรวมเงินกันเพื่อจัดซื้อที่ดินและก่อสร้างศาสนสถานของตนขึ้น ดังมีรายละเอียดอยู่ในหนังสือรายงานการอุปถัมภ์ศาสนาอื่น (ศาสนาซิกข์) มีความว่า ต่อมาในปี ค.ศ. 1932 (พ.ศ. 2475) ศาสนิกชนชาวซิกข์ได้รวบรวมเงิน เพื่อซื้อที่ดินผืนหนึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ ด้วยจำนวนเงิน 16,200 บาท และออกแบบแปลนก่อสร้างเป็นตึกสามชั้นครึ่งด้วยจำนวนเงินอีกประมาณ 25,000 บาท สร้างตึกใหญ่เป็นศาสนสถานถาวรใช้ชื่อว่า “ศาสนสถาน ศรีคุรุสิงห์สภา” (ศูนย์รวมซิกข์ศาสนิกชนในประเทศไทย)

ที่มา wikiwand.com

เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่