พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร
- ถนนไปรษณีย์ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50300
- 053-251-200
-
- อังคาร-อาทิตย์ 08:30-16:30
- http://culture.mome.co/chiangmaistampmuseum/
- #แสตมป์ #ตราไปรษณียากร #ตราไปรษณียากรเพื่อการสะสม #ห้องสมุดเกี่ยวกับตราไปรษณียากร #ตู้ไปรษณีย์เก่า #เครื่องโทรเลข
-
ตำแหน่งจีพีเอส : 18.7892516, 99.0022051 (เปิดแผนที่บน Google Map) | เปิดพิกัดปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมา พิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากร เชียงใหม่ (Chiang Mai Stamp Museum)
ในปี พ.ศ. 2453 มีการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กตรงบริเวณใกล้กัน (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่) ทางการได้ย้าย “โฮงสาย” มาอยู่ที่อาคารหลังนี้ภายหลัง ซึ่งแต่เดิมนั้น ก่อนที่จะมีการก่อสร้างอาคารหลังนี้ บริเวณดังกล่าวใช้เป็นที่ทำการศาลมณฑลพายัพ ภายในมีที่คุมขังนักโทษอยู่ด้วย ปัจจุบันตัวอาคารได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย ปีกของอาคารทั้งสองข้าง ได้ต่อเติมเป็นสองชั้นโดยตลอด เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับทำงานเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความเจริญของเมืองเชียงใหม่ในยุคสมัยต่อๆ มา จนต้องสร้างที่ทำการขึ้นที่ใหม่เพิ่มอีกแห่งหนึ่งย่านสันป่าข่อย ฝั่งซ้ายแม่น้ำปิง อาคารหลังนี้ใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแม่ปิง เรื่อยมาจนถึงปี 2533 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณีย์เชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์รวมของนักสะสมตราไปรษณียากรในภูมิภาคนี้
ในปี พ.ศ. 2453 มีการก่อสร้างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กตรงบริเวณใกล้กัน (ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณียากรเชียงใหม่) ทางการได้ย้าย “โฮงสาย” มาอยู่ที่อาคารหลังนี้ภายหลัง ซึ่งแต่เดิมนั้น ก่อนที่จะมีการก่อสร้างอาคารหลังนี้ บริเวณดังกล่าวใช้เป็นที่ทำการศาลมณฑลพายัพ ภายในมีที่คุมขังนักโทษอยู่ด้วย ปัจจุบันตัวอาคารได้เปลี่ยนแปลงไปตามกาลสมัย ปีกของอาคารทั้งสองข้าง ได้ต่อเติมเป็นสองชั้นโดยตลอด เพื่อให้มีพื้นที่สำหรับทำงานเพิ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่เพียงพอต่อความเจริญของเมืองเชียงใหม่ในยุคสมัยต่อๆ มา จนต้องสร้างที่ทำการขึ้นที่ใหม่เพิ่มอีกแห่งหนึ่งย่านสันป่าข่อย ฝั่งซ้ายแม่น้ำปิง อาคารหลังนี้ใช้เป็นที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขแม่ปิง เรื่อยมาจนถึงปี 2533 การสื่อสารแห่งประเทศไทย ได้ปรับปรุงให้เป็นพิพิธภัณฑ์ตราไปรษณีย์เชียงใหม่ เพื่อเป็นศูนย์รวมของนักสะสมตราไปรษณียากรในภูมิภาคนี้