วัดแสนฝาง
- ถนนท่าแพ ตำบลช้างม่อย อำเภอเมืองเชียงใหม่ รหัสไปรษณีย์ 50300
- 081-530-9089
-
- เปิดทุกวัน 06:00-18:00
- http://culture.mome.co/watsanfang/
- #วัด
-
ตำแหน่งจีพีเอส : 18.7884126, 98.9988967 (เปิดแผนที่บน Google Map) | เปิดพิกัดปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมา
วัดแสนฝางเป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาแต่ครั้งราชวงศ์มังราย โดยมีตำนานเล่าว่า สร้างในสมัยพญาแสนภูกษัตริย์ราชวงศ์มังราย และ คงสภาพวัดสืบต่อมาจนถึงสมัยราชวงศ์กาวิละ วัดแสนฝางได้รับการอุปถัมภ์บำรุงจากเจ้านครเชียงใหม่ด้วยดีตลอดมา ดังปรากฏหลักฐานจากแผ่นไม้จารึกในวัด แม้ในสมัยต่อมา วัดแสงฝางก็ได้รับการอุปถัมภ์จากบรรดาคหบดีเชียงใหม่เรื่อยมา ชื่อวัดแสนฝางนี้ ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมากล่าวว่า วัดแสนฝางเดิมชื่อวัดแสนฝัง แต่เมื่อเวลาล่วงมาหลายร้อยปี ชื่อวัดกลายเป็นแสนฝาง ที่มาของคำว่า "แสนฝัง" นั้น มีอยู่ว่า เมื่อพระเจ้าแสนภูขึ้นครองราชสมบัติเป็นครั้งที่ 2 ทรงมีพระราชประสงค์จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนาตามเยี่ยงพระเจ้าปู่และพระราชบิดา จึงดำริว่ามีสถานที่รกร้างว่างเปล่าใกล้ๆ แม่น้ำเล็กๆ ห่างจากน้ำแม่ระมิงค์พอประมาณ จึงทรงสละราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นการฝากพระราชศรัทธาและพระราชสมบัติของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนา สถานที่นั้นจึงได้ชื่อว่า "วัดแสนฝัง" คำว่า "แสน" ตรงกับชื่อพระเจ้าแสนภู คำว่า "ฝัง" นั้น พระองค์ได้บริจาคพระราชทรัพย์ทรงสร้างวัด ถือว่า พระองค์ได้ฝังสมบัติไว้ในพระพุทธศาสนา
ลักษณะความสำคัญ/จุดเด่น
เจดีย์ทรงชเวดากอง วิหารหอลายคำ อุโบสถเจ้าดารารัศมี และนาคที่ประตูที่ประตูวัด เป็นฝีมือช่างล้านนาที่งดงามมาก
วัดแสนฝางเป็นวัดเก่าแก่ สร้างมาแต่ครั้งราชวงศ์มังราย โดยมีตำนานเล่าว่า สร้างในสมัยพญาแสนภูกษัตริย์ราชวงศ์มังราย และ คงสภาพวัดสืบต่อมาจนถึงสมัยราชวงศ์กาวิละ วัดแสนฝางได้รับการอุปถัมภ์บำรุงจากเจ้านครเชียงใหม่ด้วยดีตลอดมา ดังปรากฏหลักฐานจากแผ่นไม้จารึกในวัด แม้ในสมัยต่อมา วัดแสงฝางก็ได้รับการอุปถัมภ์จากบรรดาคหบดีเชียงใหม่เรื่อยมา ชื่อวัดแสนฝางนี้ ตามคำบอกเล่าสืบต่อกันมากล่าวว่า วัดแสนฝางเดิมชื่อวัดแสนฝัง แต่เมื่อเวลาล่วงมาหลายร้อยปี ชื่อวัดกลายเป็นแสนฝาง ที่มาของคำว่า "แสนฝัง" นั้น มีอยู่ว่า เมื่อพระเจ้าแสนภูขึ้นครองราชสมบัติเป็นครั้งที่ 2 ทรงมีพระราชประสงค์จะฝากฝังขุมพระราชทรัพย์ของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนาตามเยี่ยงพระเจ้าปู่และพระราชบิดา จึงดำริว่ามีสถานที่รกร้างว่างเปล่าใกล้ๆ แม่น้ำเล็กๆ ห่างจากน้ำแม่ระมิงค์พอประมาณ จึงทรงสละราชทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างวัดขึ้นเพื่อเป็นการฝากพระราชศรัทธาและพระราชสมบัติของพระองค์ไว้ในพระพุทธศาสนา สถานที่นั้นจึงได้ชื่อว่า "วัดแสนฝัง" คำว่า "แสน" ตรงกับชื่อพระเจ้าแสนภู คำว่า "ฝัง" นั้น พระองค์ได้บริจาคพระราชทรัพย์ทรงสร้างวัด ถือว่า พระองค์ได้ฝังสมบัติไว้ในพระพุทธศาสนา
ลักษณะความสำคัญ/จุดเด่น
เจดีย์ทรงชเวดากอง วิหารหอลายคำ อุโบสถเจ้าดารารัศมี และนาคที่ประตูที่ประตูวัด เป็นฝีมือช่างล้านนาที่งดงามมาก