อุทยานหลวงราชพฤกษ์ (พืชสวนโลก)

อัตราค่าบริการเข้าชม อุทยานหลวงราชพฤกษ์

บัตรทั่วไป


นักท่องเที่ยวคนไทย ราคา
ผู้ใหญ่ 100 บาท
*เด็ก (ส่วนสูง 100-140 ซม.)70 บาท

*เด็กส่วนสูงต่ำกว่า 100 ซม. เข้าชมฟรีส่วนลดค่าเข้าอุทยานสำหรับองค์กรค่างๆ และหมู่คณะ


อัตราค่าบริการเข้าชม อุทยานหลวงราชพฤกษ์

บัตรพิเศษ

บัตรพิเศษ (เฉพาะคนไทยเท่านั้น) ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ราชการ นักเรียน นักศึกษา ผู้พิการ พระภิกษุ หมายเหตุ
70 บาท (โปรดแสดงบัตรกับเจ้าหน้าที่) 70 บาท 70 บาท 70 บาท ไม่เสียค่าใช้จ่าย ไม่เสียค่าใช้จ่าย ส่วนลดค่าเข้าอุทยานสำหรับองค์กรค่างๆ และหมู่คณะ

อัตราค่าบริการเข้าชม อุทยานหลวงราชพฤกษ์

บัตรรายปี

สำหรับบุคคล แบบครอบครัว
3,000 บาท
5,000 บาท

ที่มาroyalparkrajapruek.org/Admission


ความเป็นมา

เนื่องในมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ใน พ.ศ.2549 และทรงเจริญพระชนมายุ 80 พรรษา ในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 และคณะรัฐมนตรีมีมติ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2546 เห็นชอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ (พื้นที่ 468 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา) โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2550 รวม 92 วันภายใต้ชื่อ “มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549” ซึ่งเป็นงานที่ประเทศไทยประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก

จากความสำเร็จของการจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ที่ได้รับการตอบรับทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศเป็นอย่างดี คณะรัฐมนตรีจึงมีมติ เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน 2551 ให้สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เข้ามาบริหารจัดการและใช้ประโยชน์พื้นที่สวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารจัดการและปฏิบัติงานด้านต่างๆ มีภารกิจหลักในการพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้พืชสวนและเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางการเกษตรและวัฒนธรรมของจังหวัดเชียงใหม่และประเทศไทย โดยได้รับการถ่ายโอนกิจการ ทรัพย์สิน สิทธิ และงบประมาณของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มาเป็นของสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2552 และมีการส่งมอบสวนเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ในวันที่ 10 ธันวาคม 2552

สำหรับการตั้งชื่ออุทยานหลวงราชพฤกษ์นั้น หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี องค์ประธานมูลนิธิโครงการหลวง ได้มีลายพระหัตถ์ที่ ล. 01/358 ลงวันที่ 12 ตุลาคม 2552 ขอพระราชทานชื่อสวนซึ่งเป็นสถานที่จัดงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ว่า “สวนหลวงราชพฤกษ์” ต่อมาท่านผู้หญิงบุตรี วีระไวทยะ รองราชเลขาธิการ ปฏิบัติราชการแทนราชเลขาธิการ ได้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อสวนดังกล่าวว่า “อุทยานหลวงราชพฤกษ์” ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม 2553 และได้รับพระราชทานชื่อภาษาอังกฤษว่า “Royal Park Rajapruek” ตามหนังสือสำนักราชเลขาธิการที่ รล. 003.4/55045 ลงวันที่ 22 มีนาคม 2553

ชื่ออุทยานหลวงราชพฤกษ์ หมายถึง สวนของพระมหากษัตริย์

ต้นราชพฤกษ์ หรือ ต้นคูน(ลมแล้ง ภาษาพื้นเมืองภาคเหนือ) นั้น ได้รับการยกให้เป็น ดอกไม้ประจำชาติไทย และด้วยชื่ออันเป็นมงคลยิ่ง(ราชพฤกษ์ : ต้นไม้ของพระราชา) ประจวบเหมาะกับงานพืชสวนโลก "เฉลิมพระเกียติ" ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ได้จัดในสถานที่นี้ ชื่อดอกราชพฤกษ์จึงถูกใช้เป็นชื่อของอุทธยานหลวงแห่งนี้นั่นเอง
หอคำหลวง

“หอคำหลวง” เป็นส่วนแสดงสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดในงาน เป็นพื้นที่จัดแสดงส่วนกลางที่โดดเด่นและสง่างามที่สุด เพื่อจัดแสดงพระอัจฉริยภาพด้านการเกษตร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเป็นกษัตริย์นักการเกษตรเอกของโลก เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ที่ทรง อัจฉริยภาพและ ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานที่สุดในโลก ภายใต้แนวคิดว่า “พระบาทสมเด็พระเจ้าอยู่หัว คือ ศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทย” นั่นคือที่มาของอภิมหาสถาปัตยกรรมล้านนา “หอคำหลวง” โดย หม่อมเจ้าภีศเดช รัชนี เป็นประธานคณะอนุกรรมการโครงการเฉลิมพระเกียรติฯ“หอคำหลวง”

หอคำหลวง สถาปัตยกรรมล้านนาที่สง่างาม เป็นอาคารครึ่งไม้ครึ่งตึก 2 ชั้น สีน้ำตาลแดง ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าบนเนินดิน พื้นที่ประมาณ 3,000 ตารางเมตร ท่ามกลางเนื้อที่กว่า 470 ไร่ ของศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ สองข้างทางเดินสู่หอคำหลวงเต็มไปด้วยสีเหลืองอร่ามของดอกราชพฤกษ์ ส่งให้หอคำหลวง เป็นพื้นที่จัดแสดงส่วนกลางที่โดดเด่นและสง่างามที่สุดอีกทั้งตระการตากับพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ประดับตกแต่งในบริเวณเสาซุ้ม ซึ่งออกแบบได้สวยงามตามอย่างสถาปัตยกรรมล้านนาแท้ ๆจำนวนมากถึง 30 ซุ้ม

หอคำหลวง ที่งดงามตระการตานี้ ผ่านกระบวนการคิด การออกแบบ จากช่างสิบหมู่พื้นบ้านล้านนานับสิบคน ถ่ายทอดผลงานอภิมหาสถาปัตยกรรมล้านนา ให้งามสง่าท่ามกลางงาน มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 และหนึ่งในทีมงานสร้างครั้งนี้มี คุณรุ่ง จันตาบุญ หรือ ช่างรุ่ง สล่าล้านนา ผู้ชำนาญการด้านสถาปัตยกรรมไทยพื้นถิ่นล้านนา
ที่มา http://www.royalparkrajapruek.org/About


สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน)
เทรนด์
มีนาคม 2024

กิจกรรมในเชียงใหม่